แนวทางการแก้ปัญหาการใช้หลักสูตรปฐมวัย โดยใช้กระบวนการซิกซ์ ซิกม่า ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

รุ่งอรุณ วุฒิลัย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการใช้หลักสูตรปฐมวัยโดยใช้กระบวนการซิกซ์ ซิกม่า ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้น คือ 1) ขั้นสร้างแนวทาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนเครื่องมือ คือ แบบสอบถาม เป็นวิธีการหาคุณภาพความสอดคล้อง 2) ขั้นศึกษาความเหมาะสมของแนวทาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เครื่องมือ คือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัธยฐานได้คะแนนความเหมาะสมไม่น้อยกว่า  3.50 และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ ไม่เกิน  1 ทั้ง  5   ขั้น  3) ขั้นศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทาง กลุ่มตัวอย่าง เป็นหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 144 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการแก้ปัญหาการใช้หลักสูตรปฐมวัย โดยใช้กระบวนการ ซิกซ์ ซิกม่า ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย 5 ขั้น 39 รายการปฏิบัติ คือ ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา ประกอบด้วย 7 รายการปฏิบัติ ขั้นที่ 2 การวัด ประกอบด้วย 10 รายการปฏิบัติ ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ ประกอบด้วย 12 รายการปฏิบัติ ขั้นที่ 4 การปรับปรุงประกอบด้วย 6 รายการปฏิบัติ ขั้นที่ 5 การควบคุม ประกอบด้วย 4 รายการปฏิบัติ แนวทางปฏิบัติทั้ง 39 รายการปฏิบัติ มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 เนติ วัชระโชติพิมาย, “การลดของเสียในการผลิต ผักแช่แข็งโดยใช้เทคนิคซิกซ์ ซิกม่า”, วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรม อุตสาหการ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554.
2 บัลลังก์ จันทบูรณ์, แนวทางการจัดการศึกษาระดับ ก่อนประถมศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่, วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550.
3 มณฑิรา ไชยเผือก, “การศึกษาแนวทางการ ประยุกต์ใช้วิธีการบริหารจัดการแบบซิกซ์ ซิกม่า ใน สถานศึกษา”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2552.
4 วิทยา สุหฤทดารง และนราศรี ถาวรกุล, “เส้นทางสู่ ความสำเร็จในการดำเนิน โครงการ Six Sigma”, อินดัสเทรียลเทคโนโลยี รีวิว, 2545.
5 วีระยุทธ ชาตะกาญจน์, “เทคนิคการบริหารสำหรับ นักบริหารการศึกษามืออาชีพ”, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2551.
6 สมนึก ธาตุทอง, “เทคนิคการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา”, เพชรเกษมการพิมพ์, 2548.
7 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, “แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัด การศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550”, 2550.
8 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, “ยุทธศาสตร์ ชาติ ด้านเด็กปฐมวัย (แรกเกิดถึงก่อนเข้า ประถมศึกษาปีที่ 1ตามนโยบายรัฐบาล ด้านเด็ก ปฐมวัย พ.ศ.2555 – 2559”, พริกหวานกราฟฟิก, 2555.
9 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, “ระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 25512551”, ผู้แต่ง, .
10 สิทธิศักดิ์ พงษ์ปิติกุล, “การบริหารกลยุทธ์และ ผลสัมฤทธิ์ขององค์กรด้วยวิธี Balanced Scorecard”, โอเดียนสโตร์, 2546.
11 Tennant, G., “Six Sigma : SPC and TQM in Manufacturing and Services”, Gower, 2001.