การศึกษาความพร้อมและแนวทางเสริมสร้างความพร้อมในการดำเนินงาน ประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2

Main Article Content

ทองไทยแท้ ทองดีนอก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพร้อมในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 2) ศึกษาแนวทางเสริมสร้างความพร้อมในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  กลุ่ม 1 และกลุ่ม 2  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน 144 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร  24  คน  ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) และครู 120 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพร้อม และแบบสอบถามแนวทางเสริมสร้างความพร้อมในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษ   สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมในด้านปัจจัยการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน  ส่วนด้านขั้นตอนการดำเนินงานมีความพร้อมอยู่ในระดับน้อย 2) แนวทางเสริมสร้างความพร้อมในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษ  ที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด มีจำนวนทั้งสิ้น 72 รายการ ประกอบด้วย ด้านปัจจัยการดำเนินงาน 23 รายการ ด้านขั้นตอนการดำเนินงาน จำนวน 49 รายการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ,“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545”, 2545.
2 สุวิมล วองวาณิช, “คู่มือการประเมินภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา : การออกแบบระบบการประเมินภายใน”, 2543.
3 อุทุมพร จามรมาน, “วิธีทําประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน”, 2544.
4 บุญชม ศรีสะอาด, “การวิจัยเบื้องต้น”, 2543.
5 วิรัช ภู่เล็ก, “การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานศูนย์การศึกษาพิเศษ”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
6 สวาท มูลละ, “การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขนาดเล็ก ในอำเภอสันทราย เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2”, การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548.
7 เกียรติพงศ์ อุ่นใจ, “แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก เขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1”, การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549.
8 กิ่งทอง ใจแสน, “แนวทางพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ต้องการพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2550.