การรับรู้ความเสี่ยงในการเดินทางของนักท่องเที่ยว : กรณีศึกษาโลจิสติกส์ท่องเที่ยวจากอุบลราชธานีไปปากเซ

Main Article Content

นัทธพงศ์ นันทสำเริง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงในการรับรู้ของนักท่องเที่ยวระหว่างการเดินทางจากจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย ไปยังเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเริ่มจากการศึกษารูปแบบของโลจิสติกส์ท่องเที่ยวระหว่างประเทศเพื่อศึกษารูปแบบของยานพาหนะที่ใช้และรูปแบบของเส้นทางที่เป็นไปได้ จากนั้นจึงทำการพัฒนาเครื่องมือ และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลความเสี่ยงในการรับรู้ของตัวอย่างนักท่องเที่ยวจำนวน 100 คนซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า  เส้นทางที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดคือ เส้นทางที่ 13 รถแท๊กซี่-รถตู้ช่องเม็ก-รถตู้วังเต่า เส้นทางที่ 14 รถแท๊กซี่-รถตู้อุบลพิบูล-รถตู้ช่องเม็ก-รถตู้วังเต่า เส้นทางที่ 43 รถแท๊กซี่-รถตู้ช่องเม็ก-รถตู้วังเต่า และเส้นทางที่ 44 รถแท๊กซี่-รถตู้อุบลพิบูล-รถตู้ช่องเม็ก-รถตู้วังเต่า ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.71 คิดเป็นความเสี่ยงระดับปานกลาง ส่วนเส้นทางที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดคือ เส้นทางที่ 1 รถสาย-รถทัวร์ระหว่างประเทศ และเส้นทางที่ 7 รถสาย-รถบัสอุบลพิบูล-รถสองแถว (ช่องเม็ก) -รถตู้วังเต่า ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 3.15

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 ฐานเศรษฐกิจ. (10 มกราคม 2559). ท่องเที่ยวไทยปี 58 ทำสถิติใหม่ โกยรายได้ทะลุเป้า 2.23 ล้านล้าน. สืบค้นจาก http://www. thansettakij. com/content/25115.
2 World Tourism Organization, “UNWTO Annual Report 2015,” World Tourism Organization, 2016.
3 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (20 กรกฎาคม 2559). จาก Land-Locked สู่ Land-Link Country เสริมศักยภาพการท่องเที่ยวลาว. สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch/th/keconanalysis/pages/viewsummary.aspx?docid=29467.
4 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (10 มกราคม 2559). ลาวบูมท่องเที่ยวยอดทะลุเป้า ชาวไทยนิยมเยือนอันดับ 1. สืบค้นจาก https://www.prachachat. net/news_detail.php?newsid=1392268741.
5 ด่านศุลกากรช่องเม็ก. (10 มกราคม 2559). สถิติรถสินค้าและบุคคลเข้าออกของปีงบประมาณ 2558. สืบค้นจาก http://www. chongmekcustoms. com/default.asp?content=contentdetail&id= 27089.
6 คมสัน สุริยะ. (10 มกราคม 2559). กรอบแนวคิดโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว. สืบค้นจากhttp://www.tourismlogistics.com/index. php?option=com_content&view=article&id=71:concept-tourism-logistics&catid=64: conceptual-framework&Itemid= 78.
7 เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ, “การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียวจังหวัด นคราชสีมา," วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, ปีที่ 6, ฉบับที่ 2 , หน้า 17-33, 2555.
8 ณภัทร ทิพย์ศรี และ ขจีโฉม เจียตระกูล, “การจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยวของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงราย,” วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, ปีที่ 10, ฉบับที่ 2, หน้า 60-70, 2558.
9 พิมพ์มาดา วิชาศิลป์, “การศึกษาการรับรู้ด้านความเสี่ยงและการป้องกันความเสี่ยงขณะเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติประเภทแบกเป้,” วารสารการบริการและการท่องเที่ยว, ปีที่ 7, ฉบับที่ 2, 2555, หน้า 15-26.
10 V.R. Vuchic, “Urban Public Transportation System and Technology”, Prentice-Hall, 1981.
11 T. Yamane, “Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.) ,” Harper and Row, 1973.