แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อ สุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 346 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) สุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการทำงานของครูกับสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 พบว่า ด้านแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านแบบภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์และด้านแรงจูงใจใฝ่อำนาจ สามารถพยากรณ์สุขภาพองค์การได้ร้อยละ 61.40 และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานคือ Z'y = 0.455x1.1 + 0.151x2.3 + 0.187x2.2 + 0.199x1.2
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 วรรณี หิรัญญากร, “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับสุขภาพองค์กร โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 12”,วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา 2546, หน้า 141.
3 พิรจิต บุญบันดาล, “คุณลักษณะผู้นำยุคใหม่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับประสิทธิผลขององค์การ”,ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2551, หน้า 90.
4 คณพงศ์ ดาเลิศ, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียนสังกัดเทศบาล ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2555, หน้า 73.
5 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, “สพฐ.พร้อมปฎิรูการศึกษา”, สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2558.จาก http://www.obec.go.th/news/58229.
6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6,“รายงานการติดตามและประเมินผลการ จัดการศึกษามัธยมศึกษาประจำปีการศึกษา 2556”, 2556, หน้า 2-3.
7 อมรรัตน์ โสธารัตน์, “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับสุขภาพองค์การในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต แขนง วิชาการบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550, หน้า 89.
8 ยุพาภรณ์ ขานพล, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาสุรินทร์ เขต 2”,วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการศึกษาคณะกรรมการ บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 2551, หน้า 33.
9 Krejcie,R.V.,& Morgan, D.W.Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 1970, pp 608.
10 อิสรา วิรัชกุล, “ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6”, วิทยานิพนธ์ครุคาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2558 หน้า 86.
11 อรัญญา สารีโพธิ์, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ องค์การของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย”, ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชฏัอุดรธานี, 2553, หน้า 80.
12 กาญจนา ชูรอด, “สุขภาพองค์การของโรงเรียนใน จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหา บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555,หน้า 69.
13 มะลิวรรณ์ ภูแช่มโชติ, “ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา, 2552, หน้า 79.