แนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา สังกัดเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา โดยใช้ เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง

Main Article Content

ดนย์ ทักศินาวรรณ
สายฝน เสกขุนทด
กานต์ เสกขุนทด

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา สังกัดเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ รองผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ ผู้อำนวยการห้องสมุดมีชีวิตรูปแบบอุทยานการเรียนรู้ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัย และนักวิชาการด้านการบริหารอุทยานการเรียนรู้ จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา แบบสอบถามความเหมาะสมของแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทราแบบ PCDA ดังนี้ 1) ด้านกายภาพ วางแผนออกแบบสภาพแวดล้อมและบรรยากาศภายในและภายนอกอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯให้มีความผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง สะอาดตา มีการใช้แสงธรรมชาติ มีระบบปรับอากาศที่เหมาะสม 2) ด้านสาระและกิจกรรม วางแผนในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมการเรียนรู้ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 3) ด้านการบริการ จัดทีมงานให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ใช้และผู้ยังไม่เคยใช้บริการ 4) ด้านบุคลากร เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราปรับปรุงแผนพัฒนาบุคลากรของศูนย์การเรียนรู้ฯ และดำเนินการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 5) ด้านการบริหารจัดการ ศูนย์การเรียนรู้ฯปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์แผนพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฯ   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, “คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศวรรษที่ 21”, สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, 2558.
2 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2546-2550)”, สำนักงาน ก.พ.ร., 2546.
3 แสงเพ็ช ทองไชย, “การพัฒนามาตรฐานและตัวบ่งชี้ด้านเทคโนโลยีการศึกษาของครูผู้สอนระดับขั้นพื้นฐาน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552.
4 ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์, “แผนภูมิสุดยอดกลยุทธ์การจัดการ = 100 management charts / Soichiro Nagashima”, มณีสร, 2545.
5 สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, “คู่มือการใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตรูปแบบอุทยานการเรียนรู้”, สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, 2556.
6 ฉัตรนภา พรหมมา, “การพัฒนาเกณฑ์ประเมินภารกิจของภาควิชาคณิตศาสตร์ในวิทยาลัยครู”, ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.
7 เพียรศิล สุตโต, “การพัฒนาการจัดระบบห้องสมุดประชาชน ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร” มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
8 ชานนท์ โกมลมาลย์, “รายงานผลการศึกษาโครงการวิจัยการติดตามผลการดำเนินงานโครงการห้องสมุดเด็กไทยคิด ระยะที่ 1”, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.
9 จารุวรรณ สินธุโสภณ, “หลักการบริหารและจัดการห้องสมุด”, ประเสริฐการพิมพ์, 2547.
10 อมรรัตน นาคะโร, “รูปแบบการบริหารจัดการห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2557.
11 สมจินตนา ชังเกตุ, “การพัฒนารูปแบบห้องสมุดชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต”, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.