การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร กับการสร้างทีมงานครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 2) ศึกษาการสร้างทีมงานครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารกับการสร้างทีมงานครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 112 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิด มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นด้านทักษะการบริหารความขัดแย้ง เท่ากับ .917 และค่าความเชื่อมั่นด้านการสร้างทีมงานครูในสถานศึกษา เท่ากับ .967 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะ พบว่า ทักษะที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ทักษะด้านมนุษย์ รองลงมา คือ ทักษะด้านความคิดรวบยอด และทักษะที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ ทักษะด้านเทคนิควิธี 2) การสร้างทีมงานครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นขั้นตอน พบว่า ขั้นตอนที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ การกำหนดภารกิจหรืองานที่ต้องปฏิบัติ รองลงมา คือ การกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหา และขั้นตอนที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ การระดมความคิดเพื่อศึกษาปัญหา เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และ 3) ทักษะการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการสร้างทีมงานครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 อยู่ในระดับสูง (r = .775) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 สุนันทา เลาหนันท์, “การสร้างทีมงาน”, สำนักพิมพ์แฮนด์เมดสติกเกอร์ แอนด์ดีไซน์, 2551, หน้า 62.
3 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, “กรอบทิศทาง การพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545- 2559)”, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555, หน้า 21.
4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, “นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2558”, สำนักพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2558, หน้า 15 - 16.
5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3, “แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557”, สำนักพิมพ์ พี.พี.เอส. กิจเจริญ, 2557, หน้า 10.
6 ธานินทร์ ศิลป์จารุ, “การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS”, สำนักพิมพ์อินเตอร์ พริ้นท์, 2550, หน้า 51.
7 จันทรานี สงวนนาม, “ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา”, สำนักพิมพ์บุ๊คพอยท์, 2553, หน้า 32 - 34.
8 ยงยุทธ เกษสาคร, “ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม”, สำนักพิมพ์ วี. เจ. พริ้นติ้ง., 2552, หน้า 181.
9 ไพศาล วรคำ, “การวิจัยทางการศึกษา = Educational Research”, สำนักพิมพ์ตักสิลาการพิมพ์, 2556, หน้า 323 – 324.
10 ภัทราพร เกษสังข์, “การวิจัยทางการศึกษา” สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2549, หน้า 171.
11 กรกฤศ แหลมสุข, “ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารกับกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555.
12 Ghaffar, A, “Analyzing the Causes/Factors of conflicts in Male & Female Secondary school. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research In Business”, 3(2), 2011, pp. 41-49.
13 เตือนใจ โพธิ์ทอง, “การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2551.
14 บุญเลิศ สุทธิรอด, “ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งกับการสร้างทีมงานของ ผู้บริหารในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี”, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2552.