ปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของกลุ่มโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

พรภวิษย์ นันทชัชวาลย์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ   และ (2) ศึกษาปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรของโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการร่วมมือด้านการบริหารจัดการ และการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน จำนวน 10 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 430 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่น 0.93 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


            ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทุกด้านมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งด้านการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษา ความผูกพันของครูต่อของโรงเรียน แรงจูงใจในการทำงานของครู การผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น บรรยากาศและสภาพแวดล้อมของโรงเรียน 2) ปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย คือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์และการกำหนดตำแหน่ง การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การธำรงรักษาและป้องกันทรัพยากรมนุษย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 วิลาวรรณ รพีพิศาล, “การบริหารทรัพยากรมนุษย์: Human resource management” (พิมพ์ครั้งที่ 3), สำนักพิมพ์วิจิตหัตถกร, 2554.
2 ศิริพงษ์ เศาภายน, “การบริหารทรัพยากรมนุษย์” (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์ บุ๊ค พอยท์ จำกัด, 2553.
3 ยงยุทธ เกษสาคร, “เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม” (พิมพ์ครั้งที่ 6), สำนักพิมพ์เอส แอนด์ จี กราฟฟิค, 2551.
4 พิชิต เทพวรรณ์, “การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์: แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน”, สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2554.
5 กระทรวงศึกษาธิการ, “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545”, กระทรวงศึกษาธิการ, 2545.
6 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, “ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง”, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2554.
7 นริสานันท์ เดชสุระ, “รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ”, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.
8 กรมวิชาการ, “พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา”, สำนักงาคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2554, น.40–41.
9 วิโรจน์ สารรัตนะ, “การบริหาร หลักการ ทฤษฎี ประเด็นทางการศึกษาและบทวิเคราะห์ องค์การศึกษาไทย”, (พิมพ์ครั้งที่ 3), สำนักพิมพ์ พิมพ์พิสุทธ์. (2554, น.7)
10 ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์, “พฤติกรรมองค์การ” สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.
11 McShane & Von Glinow., “Organization behavior” New York: Irwin McGraw-Hill, 2000.
12 สมพงษ์ เกษมสิน, “การบริหาร”. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2550.
13 เฉลิมพล พันธ์บัว, “ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมด้านแรงจูงใจและการติดต่อสื่อสาร กับบทบาทของผู้บริหารในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครีนทรวิโรฒ, 2549
14 องอาจ นัยพัฒน์, “การประเมินประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร” สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, 2545.
15 พัชราภรณ์ มาสุวัตร, “รูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน” 2553.
16 ธงชัย สันติวงศ์, “องค์การและการบริหาร”. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. 2550.
17 สุธรรม รัตนโชติ, “พฤติกรรมองค์การและการจัดการ”. สำนักพิมพ์ท้อป กรุงเทพฯ. 2552.
18 วิเชียร วิทยอุดม, “พฤติกรรมองค์การ” พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ ธนธัชการพิมพ์ จำกัด. 2552.
19 ชาญชัย อาจิณสมาจาร “การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร”.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2549
20 ธัญญา ผลอนันต์, “การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคลแนวทางการสร้างความพึงพอใจแก่พนักงาน”. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์. 2556.
21 นวทัศน์ แนวสุข, “การบริหารงานบุคคลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สระแก้ว”. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดสระแก้ว. 2550.
22 สมิต สัชฌุกร, “ภาวะผู้นำกับการจัดการ” สำนักพิมพ์จามจุรีโปรดักท์ กรุงเทพฯ. 2553.
23 ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, “จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล” กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, 2554.