การประเมินความต้องการจำเป็นขององค์กรสุขภาพดี กรณีศึกษา: บริษัท ปัญญธารา จำกัด

Main Article Content

กนกกร คล้ายปาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการเป็นองค์กรสุขภาพดี บริษัท ปัญญธารา จำกัด และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาองค์กรสุขภาพดี บริษัท ปัญญธารา จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสายสำนักงานบริษัท ปัญญธารา จำกัด จำนวน 104 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง และผู้บริหารบริษัท ปัญญธารา จำกัด จำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้จัดการทั่วไปด้านบริหารงานทั่วไป รองผู้จัดการทั่วไปด้านฝึกอบรม ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปด้านทรัพยากรบุคคล ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปด้านบริหารสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ และผู้ชำนาญการด้านออกแบบและพัฒนาการเรียนรู้ เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น


            ผลการศึกษาพบว่า (1) การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 50.96 อายุ 25-34 ปี จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 47.12 การศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 76.93 ทำงานหน่วยงานด้านฝึกอบรม จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 30.77 สถานที่การปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานในส่วนกลาง (กรุงเทพฯ/ ปริมณฑล) จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 67.31 (2) การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพความเป็นจริง และความคาดหวัง ต่อการเป็นองค์กรสุขภาพดี พบว่า ระดับสภาพความเป็นจริงต่อการเป็นองค์กรสุขภาพดี ของ บริษัท ปัญญธารา จำกัด โดยรวมอยู่ในระดับมาก สุขภาพองค์กร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 รองลงมาคือภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 และสุขภาพบุคลากร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ตามลำดับ ระดับความคาดหวังต่อการเป็นองค์กรสุขภาพดี ของ บริษัท ปัญญธารา จำกัด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 รองลงมาคือสุขภาพองค์กร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 และสุขภาพบุคลากร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 ตามลำดับ (3) การประเมินความต้องการจำเป็นขององค์กรสุขภาพดี บริษัท ปัญญธารา จำกัด ทั้งด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ด้านสุขภาพองค์กร คุณภาพขององค์กร การมีนวัตกรรมใหม่ๆ การใช้ทรัพยากร สภาพแวดล้อมและบรรยากาศ และด้านสุขภาพบุคลากร ความผูกพันและภักดี การมีส่วนร่วม ความสามัคคีกลมเกลียวของบุคลากร ความสามารถในการแก้ปัญหา เจตคติต่อเพื่อนร่วมงาน และประโยชน์จากการทำงาน โดยประเมินความต้องการจำเป็นขององค์กรสุขภาพดี เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพความเป็นจริงต่อการเป็นองค์กรสุขภาพดี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และข้อมูลความคาดหวังต่อการเป็นองค์กรสุขภาพดี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า เพศชาย มีความต้องการจำเป็นด้านสุขภาพบุคลากร ส่วนเพศหญิง ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ช่วงอายุ 15–24 ปี และ 35–44 ปี มีความต้องการจำเป็นด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร 25–34 ปีด้านสุขภาพบุคลากร และอายุ 45 ปี ขึ้นไป ด้านสุขภาพองค์กร ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และปริญญาโท มีความต้องการในด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ปริญญาตรี ด้านสุขภาพบุคลากร หน่วยงานด้าน Learning Service Center และหน่วยงานด้านฝึกอบรมมณฑล มีความต้องการในด้านสุขภาพบุคลากร หน่วยงานด้านพัฒนาการเรียนรู้ ฝึกอบรมกรุงเทพฯ และการศึกษา วิชาการและลูกค้า พัฒนาองค์กร บริหารงานทั่วไป ทรัพยากรบุคคล บัญชีและการเงิน มีความต้องการด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร หน่วยงานด้านฝึกอบรมสำนักงาน / กระจายสินค้าและแฟรนไชส์ มีความต้องการด้านสุขภาพองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ทำงานส่วนกลาง (กรุงเทพฯ / ปริมณฑล) มีความต้องการในด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร และทำงานด้านมณฑล มีความต้องการในด้านสุขภาพบุคลากร ซึ่งผลจากงานวิจัยพบว่าการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือ ด้านสุขภาพบุคลากร ด้านสุขภาพองค์กร และด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตามลำดับ (4) ได้แนวทางการพัฒนาความเป็นองค์กรสุขภาพดี ของบริษัท ปัญญธารา จำกัด พร้อมทั้งผลการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารของบริษัท ปัญญธารา จำกัด โดยมีแนวทางการพัฒนาทั้งในด้านสุขภาพบุคลากร ได้แก่ ความผูกพันและภักดีต่อองค์กร การมีส่วนร่วมในองค์กร ความสามัคคีกลมเกลียวของบุคลากร ความสามารถในการแก้ปัญหา เจตคติต่อเพื่อนร่วมงาน และประโยชน์จากการทำงาน ด้านสุขภาพองค์กร ได้แก่ คุณภาพขององค์กร การมีนวัตกรรมใหม่ๆ การใช้ทรัพยากร สภาพแวดล้อมและบรรยากาศ และด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ได้แก่ ความรู้ ทักษะ เจตคติ  เพื่อนำมาพัฒนาได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ พร้อมนำไปสู่การพัฒนาการเป็นองค์กรสุขภาพดี  รวมถึงเพื่อเกิดความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจสืบไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 Jacqueline Helene. (2015). “Correlates of Visionary Principal Leadership in Secondary Schools”, Dissertation Abstracts International.
2 Hoy, Wayne K; John C. Tarter and Robert B. Kottkamp. Open Schools, “Healthy School Measuring Organizational Climate”, United State of America: Sage Publications Company: 1991.
3 จิรประภา อัครบวร, “สร้างคน สร้างผลงาน”. สำนักพิมพ์เต๋า, 2549.
4 กอบัว ทัศนภักดิ์, “องค์การสุขภาพดี (Healthy organization)”, สารนิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2550.
5 Wellness I, “Healthy organizations being with healthy peoplefrom”, สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2560,สืบค้นจาก http//www. iriswellness.com.
6 บุญพรรษา วัฒนเมฆินทร์กุล, “การศึกษาตัวแบบองค์การสุขภาพดี: กรณีศึกษา องค์การเอกชนสัญชาติไทย ในประเทศไทยที่มีอายุมากกว่า 100 ปี” วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2550.
7 เทียมจันทร พานิชยผลินไชย, “ตัวประกอบที่สัมพันธกับประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 7”, ปริญญานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร, 2550.
8 Bass, B.M. and Avolio, B.J., “The four Is Transformational Leadership”. Journal Of European Industrial Training, 15 (2), 2012.
9 Fornell eta., “A national customer satisfaction barometer: The Swedish experience”, Journal of Marketing, 56,pp 2006.
10 Sergiovanni. “Education Governance and Administrational”.Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice – hall, Inc, 2012.
14 รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ, “การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน”, โรงพิมพ์นำศิลป์ พิมพ์ (ครั้งที่ 6), 2555.
15 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, “รายงานแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557”, กรุงเทพมหานคร, 2557.
16 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, “การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล”, กรุงเทพมหานคร, 2553.