น้ำมันกับสังคมไทยก่อนเกิดวิกฤติการณ์น้ำมัน พ.ศ. 2516

Main Article Content

ทัศนีพร วิศาลสุวรรณกร

บทคัดย่อ

น้ำมันเป็นพลังงานที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของโลก รวมทั้งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้คนทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาดังเช่นประเทศไทย สังคมไทยรู้จักการใช้น้ำมันมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสมัยที่มี การปฏิรูปประเทศให้เจริญก้าวหน้าตามแบบประเทศตะวันตก การใช้น้ำมันและการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศทำให้เกิดการดำเนินธุรกิจน้ำมัน ทั้งการผลิตน้ำมัน การจำหน่ายน้ำมัน การสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมัน รวมทั้งการจัดตั้งโรงกลั่นน้ำมันขึ้นภายในประเทศไทย ธุรกิจน้ำมันดังกล่าวมีทั้งดำเนินกิจการโดยคนต่างชาติและรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตาม ปริมาณการใช้น้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศไทยไม่มีแหล่งน้ำมันที่เพียงพอสำหรับใช้ภายในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้าทั้งน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันขึ้นใน พ.ศ. 2516 ประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างกว้างขวาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 น้ำมัน (Oil) หมายถึง ผลิตภัณฑ์น้ำมันหรือน้ำมันสำเร็จรูปที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน และก๊าซปิโตรเลียมเหลว
2 ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล, หาอยู่หากิน เพื่อค้าเพื่อขาย : เศรษฐกิจไทยรัตนโกสินทร์ตอนต้น, กรุงเทพฯ : มติชน, 2544, หน้า 17.
3 นวลศรี สุวรรณประทีป, “เชื้อเพลิงยุครัตนโกสินทร์”, กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี, 2526, หน้า 1.
4 สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย, “ปิโตรเลียมเมืองสยาม : วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในประเทศไทย”, กรุงเทพฯ : สถาบันฯ, 2536, หน้า 5.
5 สมบูรณ์ ศิริประชัย, “นโยบายปิโตรเลียมและนโยบายราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในประเทศไทย นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน”, กรุงเทพฯ : หน่วยวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529, หน้า 1.
6 อภิโชค แซ่โค้ว, “วิวัฒนาการยานพาหนะทางบกของไทย”, กรุงเทพฯ : เอส.ที.พี. เวิลด์ มีเดีย, 2541. หน้า 60.
7 นายเลิศดัดแปลงรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ดให้เป็นรถเมล์ ด้วยการต่อเป็นตัวถังไม้ พื้นไม้ มีที่นั่งยาว 2 แถว ทางขึ้นรถอยู่ด้านท้ายรถ ด้านหน้าและด้านข้างของรถมีตราขนมกง (วงกลมมีกากบาทอยู่ภายใน) ซึ่งเป็นตราเครื่องหมายรถเมล์ติดอยู่ ด้านนอกตัวรถทาสีขาวทั้งคัน ชาวบ้านในสมัยนั้นจึงเรียกกันว่า “รถเมล์ขาว”
8 เทพชู ทับทอง, กรุงเทพฯ ในอดีต, กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต, 2518, หน้า 193.
9 กนกวรรณ ขอบุตร, “บทบาทของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการสำรวจขุดเจาะและผลิตน้ำมันในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2461-2526,” ปริญญานิพนธ์ศิลป- ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ไทย, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ, 2544, หน้า 7.
10 ทวี พานิชวัฒนาเจริญ, “บทบาทของบรรษัทน้ำมันข้ามชาติที่มีต่ออุตสาหกรรมน้ำมันของไทย,” วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526, หน้า 38.
11 สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย, “ปิโตรเลียมเมืองสยาม : วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในประเทศไทย”, กรุงเทพฯ : สถาบันฯ, 2536, หน้า 9.
12 กนกวรรณ ขอบุตร, “บทบาทของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการสำรวจขุดเจาะและผลิตน้ำมันในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2461-2526,” ปริญญานิพนธ์ศิลป- ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ไทย, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ, 2544, หน้า 8.
13 สำนักนายกรัฐมนตรี, “น้ำมันเชื้อเพลิง”, เลขที่ (2) สร. 0201.16/2/3, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 2476, หน้า 113.
14 กองประชาสัมพันธ์ องค์การเชื้อเพลิง, สมุดปกขาวขององค์การเชื้อเพลิง, กรุงเทพฯ : (ม.ป.พ.), 2522, หน้า 27.
15 นพคุณ ฉัตราคม, “การวิเคราะห์รายได้ภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน,” วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2533, หน้า 11.
16 ทวี พานิชวัฒนาเจริญ, “บทบาทของบรรษัทน้ำมันข้ามชาติที่มีต่ออุตสาหกรรมน้ำมันของไทย,” วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526, หน้า 88.
17 กระทรวงการต่างประเทศ, “การยกเลิกข้อผูกพันกับบริษัทค้าน้ำมันต่างประเทศ”, เลขที่ กต. 70.4/1, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 2489-2500, หน้า 3.
18 สำนักนายกรัฐมนตรี, “กลาโหมสร้างถังเก็บน้ำมัน”, เลขที่ สร. 0201.35.1/23, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 2493, หน้า 5.
19 กนกวรรณ ขอบุตร, “บทบาทของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการสำรวจขุดเจาะและผลิตน้ำมันในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2461-2526,” ปริญญานิพนธ์ศิลป- ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ไทย, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ, 2544, หน้า 31.
20 สำนักนายกรัฐมนตรี, “การเลิกสัญญากับบริษัทน้ำมันต่างประเทศ (Stand Vacuum Oil, Shell etc.) การแก้ไขสัญญากับบริษัทค้าน้ำมันต่างประเทศเกี่ยวกับการลงทุนการเช่าที่ดินการค้า”, เลขที่ สร. 0201.35.1/38, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติหน้า, 2499-2500, หน้า 63.
21 กนกวรรณ ขอบุตร, “บทบาทของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการสำรวจขุดเจาะและผลิตน้ำมันในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2461-2526,” ปริญญานิพนธ์ศิลป- ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ไทย, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ, 2544, หน้า 43.
22 “อุตสาหกรรมน้ำมัน”, บัญชีประมวลข่าวเหตุการณ์สำคัญ, เลขที่ ก/ป7/2497/อก 4.2, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 2497, หน้า 2.
23 กระทรวงอุตสาหกรรม, “กรมโลหกิจ”, เลขที่ อก. 0201.4/4, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 2497, หน้า 53.
24 สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย, “ปิโตรเลียมเมืองสยาม : วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในประเทศไทย”, กรุงเทพฯ : สถาบันฯ, 2536, หน้า 14.
25 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, “ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมไทย”, กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 2526, หน้า 117.
26 กรมทรัพยากรธรณี, “100 ปี กรมทรัพยากรธรณี”, กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี, 2535, หน้า 239.
27 กนกวรรณ ขอบุตร, “บทบาทของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการสำรวจขุดเจาะและผลิตน้ำมันในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2461-2526,” ปริญญานิพนธ์ศิลป- ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ไทย, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ, 2544, หน้า 61.
28 กลุ่มศึกษาเศรษฐกิจการเมือง, “ใครเขมือบน้ำมัน?”, กรุงเทพฯ : วิชัยศิลป์, 2524, หน้า 58-59.
29 สำนักนายกรัฐมนตรี, “การขายสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ของกรมเชื้อเพลิงให้แก่บริษัทอังกฤษ–อเมริกา ซึ่งกลับมาทำการค้าน้ำมันในประเทศไทย”, เลขที่ (3) สร. 0201.35.1/19, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 2489-2496, หน้า 16.
30 ณัฏฐพงษ์ ทองภักดี, “ผลกระทบของนโยบายน้ำมันเสรี,” ภาคนิพนธ์ พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒน- บริหารศาสตร์, 2536, หน้า 74.
31 กนกวรรณ ขอบุตร, “บทบาทของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการสำรวจขุดเจาะและผลิตน้ำมันในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2461-2526,” ปริญญานิพนธ์ศิลป- ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ไทย, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ, 2544, หน้า 69.
32 กระทรวงการคลัง, “โรงกลั่นน้ำมันบางจาก”, เลขที่ กค. 1.2.4/1, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 2507, หน้า 253.
33 กระทรวงการคลัง, “โรงกลั่นน้ำมันบางจาก”, เลขที่ กค. 1.2.4.1/2, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 2502, หน้า 580.
34 กิตติศักดิ์ รัตตพันธุ์, “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์และอุปทานของน้ำมันเชื้อเพลิงกับการทดแทน การนำเข้าของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2538-2543,” วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2539, หน้า 88.
35 ณัฏฐพงษ์ ทองภักดี, “ผลกระทบของนโยบายน้ำมันเสรี,” ภาคนิพนธ์ พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒน- บริหารศาสตร์, 2536, หน้า 87.
36 กนกวรรณ ขอบุตร, “บทบาทของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการสำรวจขุดเจาะและผลิตน้ำมันในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2461-2526,” ปริญญานิพนธ์ศิลป- ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ไทย, กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ, 2544, หน้า 71.