ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ : ปัญหาบางประการเกี่ยวกับการดำเนินการเรียกให้เจ้าหน้าที่รับผิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ในประเด็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งเป็นผู้กระทำละเมิดเสียเอง แต่ต้องสั่งให้ตนเป็นผู้รับผิดโดยการวินิจฉัยสั่งการของผู้กำกับดูแล ซึ่งไม่ทำให้คำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกรณีการฟ้องให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดกลับแนวการวินิจฉัยจากเดิมที่ไม่อาจฟ้องคดีได้ เพราะต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครองมาเป็นให้ฟ้องคดีได้หากมีเหตุขัดข้อง นอกจากนี้ในช่วงระยะเวลาที่ศาลวางแนววินิจฉัยว่าหน่วยงานต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครอง ยังส่งผลให้พนักงานอัยการไม่รับว่าต่างคดี ซึ่งจะต้องแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการกำหนดหน่วยงานที่เป็นผู้ใช้มาตรการบังคับทางปกครองขึ้นโดยเฉพาะ หรือให้กรมบังคับคดี เป็นผู้ดำเนินการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง หรือดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้ศาลได้พิจารณาพิพากษาคดี ตลอดจนในกรณีการเรียกดอกเบี้ยจากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดก็มีเพียงแนววินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งในทุกประเด็นปัญหาดังที่กล่าวมายังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 ฐิติพร ลิ้มแหลมทอง, “การแบ่งแยกความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่จากการปฏิบัติหน้าที่และมิใช่การปฏิบัติหน้าที่”ดุลพาห ปีที่ 52 ฉบับที่ 2, พ.ค. – ส.ค. 2548, หน้า. 77 - 87.
3 กมลชัย รัตนสกาววงศ์, “กฎหมายปกครอง”, กรุงเทพฯ : วิญญูชน, (พิมพ์ครั้งที่ 6), 2548, หน้า. 86 – 87.
4 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 56 วรรคสาม บัญญัติว่า “... ให้เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองใช้มาตรการบังคับทางปกครองเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครอง โดยกระทบกระเทือนผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองน้อยที่สุด” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113, ตอนที่ 60 ก, 14 พฤศจิกายน, 2539, หน้า. 1,
5 วิจิตรา วอนเพียร, “ปัญหาการบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539”, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549, หน้า. 94.
6 บันทึกคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่อง สำนักการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการบังคับทางปกครอง (เรื่องเสร็จที่ 494 / 2545), วารสารกรมบังคับคดี ปีที่ 20 ฉบับที่ 103 กรกฎาคม – สิงหาคม 2559, หน้า 6.
7 ศาลปกครอง, “คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 113 / 2545 และคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 157 / 2546”,เข้าถึงเมื่อ เมษายน 2560, สืบค้นจากhttp://admincourt.go.th/admincourt/site/05searchcategorylist
8 สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, “เรื่องการยุติการดำเนินคดีของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งของพนักงานอัยการ พ.ศ.2538”, มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540, สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 2560, สืบค้นจากhttp://www.cabinet.soc.go.th/soc
9 ปกรณ์ ยิ่งวรการ, “ปัญหาการใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 กรณีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน”, วารสารกฎหมายปกครอง, เล่ม 25, ตอน 3, หน้า. 63.
10 ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จ ที่ 212 / 2559 สืบค้นเมื่อ เมษายน 2560, สืบค้นจาก ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา – สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา www.krisdika.go.th/ พ.ศ.2559 หน้า 7 [0212/2559] กรมศุลกากร ขอหารือปัญหาการเรียกดอกเบี้ยกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ.