ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความเสี่ยงตามทฤษฎีกับกระบวนการบริหาร ความเสี่ยงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารความเสี่ยงตามทฤษฎีด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) ศึกษากระบวนการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความเสี่ยงตามทฤษฎีกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 246 คน เป็นผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และครูผู้สอนหรือครูที่ทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงตามทฤษฎีและกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้แบบมาตรประมาณค่า 7 ระดับ ซึ่งทุกข้อคำถามมีดัชนีความสอดคล้อง 0.66 – 1.00 และได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารความเสี่ยงตามทฤษฎีด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยรวมอยู่ในระดับมักจะเป็นจริง ขณะที่การพิจารณาเป็นรายด้านมีผลเรียงตามลำดับดังนี้ การควบคุมความเสี่ยง การกำจัดความเสี่ยง การยอมรับความเสี่ยง และการถ่ายโอนความเสี่ยง (2) กระบวนการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยรวมอยู่ในระดับมักจะเป็นจริง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับได้ดังนี้ การกำหนดวัตถุประสงค์ การรายงานและติดตามผล การระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง และการจัดการและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (3) การบริหารความเสี่ยงตามทฤษฎีกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความสัมพันธ์กันทางบวกทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p <= .01)
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ 2542 และฉบับ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553, กระทรวงศึกษาธิการ, 2553.
3 แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ประเทศไทย พ.ศ. 2554–2556, สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร, 2554.
4 ดวงใจ ช่วยตระกูล, “การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน,” สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551.
5 คู่มือการบริหารความเสี่ยง, กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง, 2556.
6 V. Krejcie, Robert and Morgan, W. Daryle “Determinining Sample Size for Research Activities,” Educational andPsychological Measurement. Vol 30, pp. 607-610, 1970.
7 R. Likert, A Technique for the Measurement of Attitudes, Archives of Psychology, 1932.
8 ดวงกมล กิ่งจำปา, “บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมงานเทคโนโลยีทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2,” คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2555.
9 กิ่งกาญจน์ คงจุน, “การบริหารจัดการความเสี่ยงทางด้านการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษากรณีศึกษาเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาสเขต 3,” สาระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, 2553.
10 วิไลพร ทวีลาภพันทอง, “Why is Risk Management Important?,” ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและการประชุมห้องสมุดเฉพาะสามัญประจำปี 2553 เรื่อง การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุดยุคใหม่, กรุงเทพฯ: ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2553.