การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลและทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

Main Article Content

อรวรรณ วงษ์ทรงยศ
สุภัทรา คงเรือง
อมรรัตน์ สนั่นเสียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการทดลอง     กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 โดยการสุ่มหลายขั้นตอนตั้งแต่สุ่มอำเภอ สุ่มกลุ่มโรงเรียนได้ โรงเรียนวัดคานหามเป็นกลุ่มทดลองที่จัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน และโรงเรียนวัดสะแกเป็นกลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนรู้ แบบปกติ 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ระยะเวลาในการทดลองกลุ่มละ 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้  แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบ  วัดความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร (MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าหลังการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2547.
2 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2552.
3 ทิพย์ธารา วงษ์สด, “การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้กับตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2553.
4 การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(สสวท.), 2546.
5 จำนง วิบูลย์ศรี, อิทธิพลทางภาษาต่อความคิดเชิงเหตุผลในเด็กไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.
6 พิมพันธ์ เดชะคุปต์, การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง, กรุงเทพฯ :เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แบเนจเม็นท์, 2548.
7 ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น, วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ เก่ง ดี มีสุข,พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้ง, 2542.
8 Good, C.V.Dictionary of Education, 3rd ed. New York : McGraw – Hill. 1973.
9 วรัญญา จำปามูล, “ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนการสร้างข้อโต้แย้ง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น,” วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
10 บุญกรณ์ สดุลสวน, “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัด การเรียนการสอนแบบ 4 MAT กับการจัดการเรียนการสอนตามคู่มือครู,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 2551.