รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในประเทศไทย

Main Article Content

ดาริน วรุณทรัพย์
นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์
ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ
กาสัก เต๊ะขันหมาก

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จำนวน  8  แห่ง ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างหลากหลายโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เหมาะสมในการเป็นกรณีศึกษา ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 24 คน และการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบลูกโซ่จำนวน 14 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย คือ รูปแบบการจัดการเชิงสร้างสรรค์ 5 ประการ (5CM-MODEL) ได้แก่ 1) การจัดการชุมชนเชิงสร้างสรรค์ 2) การจัดการเรื่องราวเชิงสร้างสรรค์ 3) การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ 4) การจัดการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ และ5) การจัดการผลกระทบเชิงสร้างสรรค์ เป็นการนำทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่มาผ่านกระบวนการผสานการจัดการทั้ง 5 รูปแบบเพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สร้างประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ในขณะที่ยังคงคำนึงผลกระทบทางสังคมสิ่งแวดล้อมและการดำรงรักษาทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนไว้ได้สืบไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. “ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560” [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2559, สืบค้นจาก http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114.
2 UNESCO, “Towards Sustainable Strategies for Creative Tourism,” Discussion Report of the Planning Meeting for 2008 International Conference on Creative Tourism, Santa Fe, New Mexico, USA, October. 25-27, 2006, pp. 2-4.
3 สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ, “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism )” องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์กรมหาชน) ร่วมกับคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพ, 2556.
4 C. Raymond, The Practical Challenges of Developing Creative Tourism: A cautionary tale from New Zealand, In G. Richards and J. Wilson (Eds), Creative Tourism and Development, London, Routledge, 2007.
5 รัตนะ บัวสนธ์, การวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
6 เพชรศรี นนท์ศิริ, “รูปแบบการดำเนินงานของกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง,” วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, ปีที่ 8, ฉบับที่ 2, หน้า 47-66, 2555.
7 ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว, “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรมและโอกาสทางธุรกิจ,” วารสารนักบริหาร, ปีที่ 31, ฉบับที่ 1, หน้า 32-37, 2554.
5 C. Campbell. “Creative Tourism Providing a Competitive Edge Tourism Insight” [online]. Retrieved August. 20, 2017, from www.insights.org.uk/articleitem.aspxtitle=Creative%20Tourism%20Providing%20a%20Competitive%20Edge.
9 G. Richard. “Creative Tourism and Local Development” [online]. Retrieved August. 20, 2017, from https://www.academia.edu/4386384/Creative_Tourism_and_Local_Development.
10 พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์, “การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา บ้านโคกไคร จังหวัดพังงา,” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, ปีที่ 7, ฉบับที่ 3, หน้า 650-665, 2557.