การศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

Main Article Content

จิรศักดิ์ สุภารส
ชิดชัย สนั่นสียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาล 2) ศึกษาระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาล และ 3) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาล มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ขั้น คือ ขั้นศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาล และระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ  แบบสัมภาษณ์  การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมมีระดับการดำเนินการอยู่ในระดับมาก 2)ระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมมีระดับปัญหาการดำเนินการอยู่ในระดับน้อย 3)แนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาล ในภาพรวมแบ่งเป็น 5 ด้าน 6 หลัก 15 รายการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545, กระทรวงศึกษาธิการ, 2549.
2 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550, ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 24 ก, กระทรวงศึกษาธิการ, 2550.
3 จันทรานี สงวนนาม, ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์, 2551.
4 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550, กระทรวงศึกษาธิการ, 2550.
5 ธีระ รุญเจริญ, การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา, แอล พี เพรส, 2550
6 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2555.
7 ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์, กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดีในการปกครองที่ดี (Good governance), บพิธการพิมพ์, 2543.
8 สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, “การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ,” สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2555.
9 เกษม วัฒนชัย, อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย, สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.),อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร, พฤษภาคม, 2557.
10 รายงานการบริหารงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนคศรีอยุธยา เขต 2 ประจำปี 2557, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2, 2557.
11 R. V. Krejcie, & D. W. Morgan, “Determining sample size for research actives,” Educational and Psychological Measurement, 1970.
12 J.W. Best, Research in education, 8th ed. Boston : Allyn & Bacon, 1998.
13 พวงรัตน์ ทวีรัตน์, วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์,สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (พิมพ์ครั้งที่ 7), 2550.
14 รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ, การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, โรงพิมพ์นำศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 6), 2555.
15 รายงานแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2557.
16 การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล,สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2553.