แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านสำหรับกลุ่มผู้รับสารเด็ก และเยาวชน ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ทิพย์พธู กฤษสุนทร

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานภาพและการใช้ภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้าน โดยแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ บะข่างโว่ ไม้โกงเกง คอปเตอร์ไม้ไผ่ และจักจั่น 2) ศึกษาปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการขาดความนิยม 3) แนวทางในการส่งเสริมภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านสำหรับกลุ่มผู้รับสารเด็กและเยาวชน ในตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือปราชญ์ชาวบ้านและผู้สูงอายุ นักเรียนและคุณครูโรงเรียนวัดขะจาว และเยาวชนศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นกลุ่มสลีปิงจัยแก้วกว้าง ระเบียบวิธีวิจัยที่ผู้วิจัยเลือกนำมาใช้ คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการลงสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานภาพของภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านขาดผู้ส่งสารและผู้รับสารรุ่นใหม่ จำเป็นต้องหาทางสืบทอด 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดความนิยมของกลุ่มผู้รับสารเด็กและเยาวชน คือ ปัจจัยที่มาจากภายในตัวภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านเอง ปัจจัยจากภายในชุมชน และปัจจัยจากภายนอกชุมชน 3) แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านสำหรับกลุ่มผู้รับสารเด็กและเยาวชน คือ ด้านผู้ส่งสารต้องพิจารณาศักยภาพ ตั้งแต่การพัฒนาด้านความรู้ การสั่งสมและเพิ่มพูนทุนความรู้ รวมทั้งต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้รับสาร ด้านเนื้อหาหรือสาร ควรใช้วิธีการผสมผสาน ทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบในการถ่ายทอดอย่างการลงมือปฏิบัติผนวกกับการใช้สื่อสมัยใหม่ ด้านช่องทางการสื่อสาร ควรเปิดโอกาสให้กับเด็กและเยาวชนได้เข้าร่วมในกระบวนการผลิตของเล่นพื้นบ้าน การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น การเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ และการประชาสัมพันธ์ ส่วนด้านผู้รับสารใช้กลยุทธ์การเสริมสร้าง ทั้งด้านความรู้ (Knowledge) ความซาบซึ้ง/ทัศนคติที่ดี (Affection) การทำกิจกรรมต่างๆ (Practice) และการเปิดโอกาส หาเวที หรือพื้นที่ให้ผู้เรียนได้สำแดงภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมด้านอื่นๆ อันได้แก่ ควรผลักดันให้กลายเป็นนโยบายระดับท้องถิ่น ภูมิปัญญาสื่อของเล่นพื้นบ้านควรทำงานร่วมกันกับสถาบันต่างๆ และการสร้างเครือข่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สมสุข หินวิมาน, การจัดความรู้ด้านสื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาชุมชน : หนึ่งปีกับการทำงานที่ผ่านมา, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ,การสื่อสารเพื่อชุมชน : โอกาสและความเป็นจริง, ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550, หน้า 14.
2 กาญจนา แก้วเทพ และเธียรชัย อิศรเดช, สื่อพื้นบ้าน ขานรับงานสุขภาพ, โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.
3 กาญจนา แก้วเทพ และคณะ, สื่อพื้นบ้านแข็งแกร่ง สุขภาวะชุมชนเข้มแข็ง, โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.
4 ทิพย์พธู กฤษสุนทร, การวิเคราะห์การปรับตัวของสื่อพื้นบ้าน : ศึกษากรณีเพลงโคราช จังหวัดนครราชสีมา,” วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการสื่อสารมวลชน,มหาวิทยาลัย- ธรรมศาสตร์, 2552, หน้า 387.
5 ทิพย์พธู กฤษสุนทร, การวิเคราะห์การปรับตัวของสื่อพื้นบ้าน : ศึกษากรณีเพลงโคราช จังหวัดนครราชสีมา,” วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัย-ธรรมศาสตร์, 2552, หน้า 388.