การศึกษาการบริหารงานการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

Main Article Content

ธีระรัตน์ คันธิวงศ์
พรเทพ รู้แผน

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิชาการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูวิชาการในโรงเรียน จำนวน 116 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเภทประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ค่าที และเทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิชาการ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการบริหารงานการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิชาการ โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด และ 2) สภาพและปัญหาการปฏิบัติการบริหารงานการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิชาการ จำแนกตาม เพศ ครูวิชาการเพศชาย มีการรับรู้สภาพการบริหารงานการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สูงกว่าครูวิชาการเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ขนาดของโรงเรียน และการได้การรับรองคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา     (สมศ.) ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545, กระทรวงศึกษาธิการ, 2550.
2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), การจัดการศึกษาของประเทศไทย, ผู้แต่ง, 2554.
3 จันทรานี สงวนนาม., ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา, บุ๊คพอยท์, 2551.
4 ดุสิต หังเสวก, ผลการสอบ O-NET กับคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2553, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1, 2554.
5 ภาวิช ทองโรจน์, จุดบอดประการหนึ่งในนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ, สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2559, สืบค้นจาก http://educationthai.
eduzones.com/archives/42, 2553.
6 รุ่ง แก้วแดง, ปฏิวัติการศึกษาไทย, พิมพ์ดี, 2552.
7 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร, ผู้แต่ง,
2552.
8 สำนักนายกรัฐมนตรี, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี : ว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง, ผู้แต่ง, 2552.
9 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, แนวทางการบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา,
ผู้แต่ง, 2552.
10 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2, รายงานการบริหารงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ประจำปี 2557, ผู้แต่ง, 2557.
11 Krejcie, R. V. & Morgan, D. W., “Determining Sample Size for Research Activities,”
Educational and Psychological Measurement, Vol.2, No.3, 1970, pp. 607-610.
12 Best, J.W., Research in education, Allyn & Bacon, 1998.
13 พรทิพย์ อ่วมทร, “การนำเสนอแนวทางการบริหาร งานวิชาการด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอ่างทอง,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2556.
14 กชนันท์ ศรีสุข, “การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของครูอนุบาล ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2553.
15 ทรงศักดิ์ ฝักทอง, “การบริหารงานวิชาการที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ใน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี,” สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา, สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี, 2545.
16 ปราโมทย์ คุ้มรักษา, “บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรสถานศึกษา 2544 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2550.