ความต้องการพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุในตำบลสามบัณฑิต อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุ ในตำบลสามบัณฑิต อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการศึกษาพบว่า : 1) ข้อมูลสภาพปัจจุบันของผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับคู่สมรส มีรายได้จากเงินสนับสนุนของรัฐบาล มีความรู้/ความถนัด ในอาชีพด้านเกษตรกรรม และในอนาคตต้องการประกอบอาชีพเกี่ยวกับด้านเกษตรกรรม มีความต้องการให้หน่วยงานของรัฐบาลช่วยในเรื่องสนับสนุนงบประมาณ ใน อบต. เป็นผู้ดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และรัฐบาลช่วยเหลือผู้สูงอายุด้านเบี้ยยังชีพ 2) ข้อมูลความต้องการพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุ พบว่า ระดับความต้องการพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด 3) การทดสอบเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า ผู้สูงอายุที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีความต้องการพัฒนาอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, “รายงานการสำรวจการเปลี่ยนแปลงประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2507-2538”, กรุงเทพฯ, 2540.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์”, สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ บริษัท ที คิวพี, 2553.
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลสามบัณฑิต, “บัญชีรายชื่อผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพฯ ประจำปี
งบประมาณ 2556”, อบต.สามบัณฑิต, 2556.
เบญจมาภรณ์ อิศรเดช และคณะ, “การวิจัยธุรกิจ กรุงเทพฯ”, สำนักพิมพ์ เมคกรอ-ฮิล, 2554.
ยุทธ ไกยวรรณ์ และคณะ, “พื้นฐานการวิจัย กรุงเทพฯ”, บริษัท พิมพ์ดี จำกัด, 2553.
Yamane Taro, “Statistics : An Introductory Analysis. Tokyo : harper International Edition, 1970.
อภินันท์ จันตะนี และคณะ, “การวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ” , สำนักพิมพ์พิทักษ์อักษร จำกัด, 2545.