การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

ปทุม มหาปราบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงาน แนะแนวในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 162 คน ครูแนะแนวจำนวน 162 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ในภาพรวม มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาสูงสุดคือด้านบริการรวบรวมข้อมูลนักเรียน รองลงมาคือ ด้านบริการจัดวางตัวบุคคล ด้านบริการสารสนเทศ ด้านบริการติดตามผล และด้านบริการให้คำปรึกษา ตามลำดับ 2) แนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประกอบด้วย 5 ด้านรวมทั้งสิ้น 42 แนวทาง ได้แก่ ด้านบริการรวบรวมข้อมูลนักเรียน จำนวน 8 แนวทาง มีแนวทางแก้ไขที่สำคัญเช่น กำหนดจัดให้มีการประชุมสรุปปัญหาและอุปสรรคร่วมกัน ด้านบริการสารสนเทศ จำนวน 9 แนวทาง มีแนวทางแก้ไขที่สำคัญเช่น สรุป/รายงานผลการจัดบริการสารสนเทศ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพและบุคลิกภาพและการปรับตัวในสังคม ด้านบริการให้คำปรึกษาจำนวน 10 แนวทาง มีแนวทางแก้ไขที่สำคัญเช่น ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานโดยผู้บังคับบัญชา ด้านบริการจัดวางตัวบุคคลจำนวน 8 แนวทาง มีแนวทางแก้ไขที่สำคัญเช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้พิจารณามอบทุนการศึกษา และด้านบริการติดตามผล จำนวน 7 แนวทาง มีแนวทางแก้ไขที่สำคัญเช่น สำรวจข้อมูลพื้นฐานของบุคลากรเพื่อคัดเลือกผู้มีความเหมาะสม โดยทั้งสิ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 18 แนวทาง ระดับมาก 23 แนวทาง และระดับปานกลาง 1 แนวทาง และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 6 แนวทาง และระดับมาก 36 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สุขพัชรา ซิ้มเจริญ, “การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน”,กรุงเทพฯ : ประสานมิตร, 2545.
2 ฝ่ายวิชาการสำนักพิมพ์เดอะบุคส์ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ.2553”, กรุงเทพฯ : เดอะบุคส์, 2556.
3 กรมวิชาการ, “คู่มือบริหารจัดการแนะแนว”, กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง, 2545.
4 สมคิด บางโม. (2544). องค์กรและการจัดการ.กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏพระนคร.
5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, “ชุดฝึกอบรมแนะแนว โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ”, กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง, 2553.
6 กาญจนา รุ่งราตรี, “ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิจัย”, พระนครศรีอยุธยา: คณะครุศาสตร สถาบันราชภัฎพระนครศรีอยุธยา, 2542.
7 จารุวรรณ ธะวิชัย, “ปัญหาในการจัดบริการแนะแนวของครูแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดแพร่”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว, การศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2541.
8 จิราพร พานทอง, “บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนที่มี การจัดการ ศึกษา 3 ช่วงชั้นสังกัด กรุงเทพมหานคร”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา.
9 สมหวัง ทาแกง, “การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการงานแนะแนวของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษากำแพงเพชร เขต 1”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพช, 2550.
10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, “ชุดฝึกอบรมแนะแนวโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ (ระยะที่2)”, กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง, 2555.