การศึกษาการดำเนินงานการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

รัชฎาภรณ์ อัมพลพ

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประชากรคือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2557 จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า และสถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า สภาพการดำเนินงานการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อ เรียงตามลำดับคือ ด้านการสร้างขวัญกำลังใจ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านจัดการเรียนการสอน ด้านประเมินผลการสอน และ ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ส่วนแนวทางการพัฒนาดำเนินงานการนิเทศภายใน พบว่า ผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตร ควรส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีมาใช้เป็นสื่อในกิจกรรมการเรียนการสอน ควรส่งเสริมให้ประเมินผลตามสภาพจริง ควรจัดสรรงบประมาณในการอบรม ควรให้ครูรับผิดชอบงานตามความถนัด ความ สามารถ ควรเป็นผู้ที่ประสานงานให้ฝ่ายต่าง ๆ ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนด ควรจัดให้มีการมอบเกียรติบัตร รางวัลแก่ครูผู้มีผลงานดีเด่นในแต่ละด้าน เช่น การสอนการประพฤติตน การปฏิบัติงาน เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สงัด อุทรานันท์, “การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม)”, โรงพิมพ์มิตรสยาม, 2530, หน้า 116.
2 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, “คู่มือดำเนินโครงการการนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษา”, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2535, หน้า 9.
3 ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, “การบริหารและการนิเทศภายในโรงเรียน”, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2536, หน้า 37.
4 กรมวิชาการ, “ผู้บริหารผู้นำการพัฒนาการเรียน การสอน”, โรงพิมพ์การศาสนา, 2539, หน้า 12.
5 วิน เชื้อโพธิ์หัก, “การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม”, โอเดียนสโตร์, 2537, หน้า 20-22.
6 ฤกษ์ชัย ใจคำปัน, “การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอจอมทอง เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5”, การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549.
7 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, “ประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา”, อรุณการพิมพ์ (พิมพ์ครั้งที่ 5), 2534, หน้า 84.
8 เมธี ฮ่งภู่, “บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.
9 รัตนา ศรีเหรัญ, “การวิจัยในชั้นเรียน สู่เส้นทางวิชาชีพครู”, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544, หน้า 24-37.
10 กรมวิชาการ, “หลักการของหลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533”, คุรุสภาลาดพร้าว, 2534, หน้า 33 -34.
11 อำนาจ จันทร์แป้น, “การพัฒนาหลักสูตรทฤษฎีสู่การปฏิบัติระดับโรงเรียน”, ม.ป.ท., 2532, หน้า 108.