การศึกษาการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

Main Article Content

ลำใย บุตรน้ำเพ็ชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อม ปัญหาการเตรียมความพร้อม และแนวทางแก้ไขปัญหาการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 110 คน และ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สถานศึกษามีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารจัดการ มีการเตรียมความพร้อมด้านการจัดการสูงสุด ด้านการจัดการเรียนรู้ มีการเตรียมความพร้อมด้านวัสดุสิ่งของสูงสุด ด้านการนิเทศภายใน มีการเตรียมความพร้อมด้านการจัดการสูงสุด และการติดตามและประเมินผล มีการเตรียมความพร้อมด้านคนสูงสุด สำหรับ   ปัญหาการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารจัดการ มีปัญหาการเตรียมความพร้อมด้านวัสดุสิ่งของสูงสุด ด้านการจัดการเรียนรู้ มีปัญหาการเตรียมความพร้อมด้านการจัดการสูงสุด ด้านการนิเทศภายใน มีปัญหาการเตรียมความพร้อมด้านเงินสูงสุด และ ด้านการติดตามและประเมินผล มีปัญหาการเตรียมความพร้อมด้านการจัดการสูงสุด และแนวทางการแก้ไขปัญหาการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านการบริหารจัดการ สถานศึกษาควรจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ด้านการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษาควรจัดทำหลักสูตรอาเซียน จัดหาสื่อ และพัฒนาครูให้มีความรู้  ด้านการนิเทศภายใน สถานศึกษาควรจัดสรรงบประมาณเพื่อวางแผนการนิเทศอย่างต่อเนื่อง และหลากหลาย และ ด้านการติดตามและประเมินผล สถานศึกษาควรจัดทำตัวชี้วัดการประเมินและนำไปติดตามและประเมินผลอย่างใกล้ชิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 กรกช อัญชลีนุกูล, “การศึกษาความพร้อมของสถาบันอาชีวศึกษาไทยด้านพาณิชยการเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน”, กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2554.
2 จตุพร ยงศร, “นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศในประชาคมอาเซียน โดยใช้วิธีการศึกษาเปรียบเทียบเชิงสหวิทยาการของจอร์ชเบอร์เรเดย์”, วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 24(1), มกราคม – มิถุนายน, 2554, หน้า 43 - 58.
3 ชัยพจน์ รักงาม, “การพัฒนาการเรียนการสอนเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ”, วารสารวิทยบริการ, 12 (1), มกราคม – เมษายน, 2544, หน้า 18 - 23.
4 บุญชม ศรีสะอาด, “ การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุง ใหม่)” (พิมพ์ครั้งที่ 8), กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, (2553).
5 พวงรัตน์ ทรีรัตน์, “วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด)” (พิมพ์ครั้งที่ 8),กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, (2543).
6 เรืองวิทย์ จันทรลือชา, “การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนท่ากุญสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5”,วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2549.
7 วิชัย นาคยรรยง, ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง, สัมภาษณ์, 3 ตุลาคม, 2556.
8 สมเดช สีแสง, “คู่มือการบริหารโรงเรียน”, นครสวรรค์ : หจก.ริมปิงการพิมพ์, 2554.
9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง, “แผนปฏิบัติการประจำปี ประจำปีงบประมาณ 2557” อ่างทอง : ผู้แต่ง, 2557.
10 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, “การขับเคลื่อนการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน”, กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง, 2555ก.
11 _______, การพัฒนาสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง, 2555ข.
12 _______, “แนวทางการจัดกิจกรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน”, กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง, 2555ค.
13 หทัยทิพย์ บัวอ่อง, “ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมของบุคลากรในการจัดทำสารสนเทศ บุคลากร กับคุณภาพของสารสนเทศที่ส่งไปยังสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2545.
14 อรวรรณ สีลวานิช, “ความพร้อมของนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์กับการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน”, สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2554.