อยุธยากับอาเซียน : ภาพสะท้อนการดำเนินความสัมพันธ์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นภูมิภาคที่ประชาคมโลกต่างจับตามอง ด้วยสภาพที่ตั้ง จำนวนประชากร และทรัพยากรธรรมชาติ การร่วมกันจัดตั้ง “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 จะสร้างความร่วมมือและความเข้มแข็งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม เมื่อมองย้อนกลับไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง ในทางการเมืองมีการกวาดต้อนผู้คน การอพยพมาขอพึ่งพระบรมโพธิ์สมภาร ส่งผลให้เกิดชุมชนชาวต่างชาติ โดยราชสำนักอยุธยาได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา และนำศักยภาพของชาวต่างชาติเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่อาณาจักร การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงไม่ใช่ประเด็นใหม่ แต่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน การย้อนกลับไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงเป็นการฉายภาพอดีตของการติดต่อ การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยมองเรื่องผลประโยชน์และการสร้างความมั่นคงแก่อาณาจักรเป็นสำคัญ ภาพสะท้อนของการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาจะกลายเป็นประสบการณ์ในการดำเนินความสัมพันธ์ภายใต้บริบทสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 “ASEAN”, สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2557, สืบค้นจาก http://www.asean.org
3 ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์, “อาเซียนศึกษา” แมคกรอ-ฮิล, 2557, หน้า 4.
4 สุรินทร์ พิศสุวรรณ, “อาเซียน รู้ไว้ ได้เปรียบแน่”, อมรินทร์, 2555, หน้า 66, 85-86, 130.
5 รายละเอียดใน “กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1”, องค์การค้าของคุรุสภา, 2515, หน้า 70.
6 จักรวรรดิราช แบ่งความได้เป็น จักรวรรดิ หมายถึง รัฐหรือสหภาพของรัฐต่างๆ ที่มีจักรพรรดิเป็นประมุข, อาณาเขตหรืออาณาจักรที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยการปกครองเดียวกัน, ส่วน ราช หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน, จักรวรรดิราช จึงหมายถึง พระราชาผู้เป็นใหญ่เหนืออาณาจักรต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการใช้คำว่า จักรพรรดิราช คำว่า จักรพรรดิ หมายถึง พระราชาธิราช หรือ ประมุข ของจักรพรรดิ (ภาษาสันสกฤต อ่านว่า จกฺรวรฺติน ส่วนภาษาบาลีใช้ จกฺกวตฺติ จึงพ้องเสียงกับคำว่า จักรวรรดิ) รายละเอียดใน ราชบัณฑิตยสถาน, “พจนานุกรมฉบับพระราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542”, นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, 2542, หน้า 296-297, 949.
7 กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ, “470 ปี สัมพันธไมตรีระหว่างไทยและโปรตุเกส”, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2531, หน้า 124.
8 แอนโทนี รีด, “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคการค้า ค.ศ. 1450-1680 : เล่มสอง การขยายตัวและวิกฤติการณ์”, ซิลเวอร์ม, 2548, หน้า 246.
9 ลาลูแบร์, เดอะ, “จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม”, ศรีปัญญา, 2552, หน้า 499.
10 “กฎหมายตรา 3 ดวง เล่ม 3 ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยรรมศาสตร์และการเมือง แก้ไขปรับปรุงใหม่” สุขภาพใจ, 2548, หน้า 105.
11 “เขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน”, สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 255, สืบค้นจาก www.mfa.go.th
12 จีระวรรธน์ บรรเทาทุกข์ และคนอื่นๆ, “นโยบายชาติพันธุ์ในประเทศไทย (พ.ศ. 2499-2557)”, หยินหยาง โฟร์คัลเลอร์, 2557, ไม่ปรากฎเลขหน้า.
13 “ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ 24”, องค์การค้าของคุรุสภา, 2511, หน้า 11.
14 วินัย พงศ์ศรีเพียร : บรรณาธิการ, “พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา เอกสารจากหอหลวง (ฉบับความสมบูรณ์)”, อุษาคเนย์, 2551, หน้า 93.
15 “ประชุมพงศาวดาร เล่ม 38”, องค์การค้าของคุรุสภา, 2512, หน้า 176.
16 วินัย พงศ์ศรีเพียร : บรรณาธิการ, “พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา เอกสารจากหอหลวง (ฉบับความสมบูรณ์)”, อุษาคเนย์, 2551, หน้า 89.
17 “อาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ”, เมื่อ 22 มิถุนายน 2557, สืบค้นจาก http://www.mol.go.th
18 วินัย พงศ์ศรีเพียร : บรรณาธิการ, “ปริทรรศน์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่มที่ 1, มปท, 2556, หน้า 54.
19 วินัย พงศ์ศรีเพียร : บรรณาธิการ, “ปริทรรศน์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่มที่ 1, มปท, 2556, หน้า 59.
20 วินัย พงศ์ศรีเพียร : บรรณาธิการ, “ปริทรรศน์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่มที่ 1, มปท, 2556, หน้า 65-66.
21 วินัย พงศ์ศรีเพียร : บรรณาธิการ, “ปริทรรศน์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่มที่ 3”, มปท, 2556, หน้า 122.
22 วินัย พงศ์ศรีเพียร : บรรณาธิการ, “ปริทรรศน์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่มที่ 2”, มปท, 2556, หน้า 67.
23 นิโกลาส์ แชร์แวส, “ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม”, ศรีปัญญา, 2551, หน้า 101.