การศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

Main Article Content

สุปรานี นาคหัวเพ็ชร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และการแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 2 ศึกษาการแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานบุคคลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านวินัยและการรักษาวินัย ด้านการออกจากราชการ และด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ  2) ปัญหาการบริหารงานบุคคลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในภาพรวมมีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับ คือ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง และ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ส่วนด้านการออกจากราชการ และด้านวินัยและการรักษาวินัยอยู่ในระดับน้อย 3) การแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา เช่น ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ คือ ต้องยึดหลักความ  มีเหตุมีผล ในการพัฒนาบุคคลตามความจำเป็น และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยบุคคลที่ได้รับการพัฒนาแล้วจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง มีคุณธรรม จริยธรรม ขยัน อดทน พากเพียร ซื่อสัตย์สุจริต  สามารถเตรียมพร้อมกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และสามารถหาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะกับบริบทของสถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 กระทรวงศึกษาธิการ, “หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551”, ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552.
2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง, “รายงานการจัดการศึกษาประจำปีงบประมาณ 2556”, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง, 2556.
3 ธนิตา ลอยโพยม, “การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2”, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552.
4 บรรจงศักดิ์ พินธะ, “สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย”, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2550.
5 พิพัฒน์ ขวัญมงคล. “การศึกษาการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง”, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2557.
6 วีนัส เป็นสุข, “บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”, มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2553.
7 รุ่งทิวา สันติผลธรรม, “การนำเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาเอกชน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์”, มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์, 2552.
8 ศิริรัตน์ กัลยาณ์, “ปัญหาข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาเศรษฐพอเพียงของโรงเรียนในเขตคุณภาพการศึกษาที่ 16 ในอำเภอท่าตะเกียบ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2”, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2554.
9 สุรชัย ธรรมมา, “สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย”, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2550.