ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้กับผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดจำแนกตามความคิดเห็นของบุคลากรและประชาชน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้กับผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง จำนวน 32 คน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง จำนวน 381 คน รวมจำนวน 413 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ซึ่งกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลสัมฤทธิ์การให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทองตามความคิดเห็นของบุคลากรและประชาชนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) องค์การแห่งการเรียนรู้ด้านแบบแผนความคิดอ่าน และด้านการทำงานเป็นทีมมีความ สัมพันธ์กันกับผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง โดยสามารถทำนายความแปรปรวนได้เพียงร้อยละ 40.30 (R2 = .430) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ คือ จัดทำแบบสอบถามเพื่อให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง และจัดให้มีรถเก็บขยะประจำตำบลเพื่อลดปริมาณขยะลง
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 ธัญญารัตน์ เรียนกะศิลป์, “ผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี”,วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555.
3 อำนาจ ศรีพูนสุข, “องค์การแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้”ในเอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 13, สาขาวิชาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี, หน้า. 1-56.
4 สกล บุนสิน, “การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจให้บริการ กรณีศึกษาบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)”, วารสารบริหารธุรกิจ, ปีที่ 35, ฉบับที่ 113, ม.ค.-มี.ค. 2551, หน้า. 41-66.
5 สนธิ ไสยคล้าย, “ภาวะผู้นำและองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา”, วารสารวิทยบริการ, ปีที่ 24, ฉบับที่ 2, เม.ย-มิ.ย. 2556, หน้า. 43-60.
6 พนานันท์ โกศินานนท์, “แนวทางการพัฒนาวิทยาลัยราชพฤกษ์สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้”, รายงานการวิจัย, วิทยาลัยราชพฤกษ์, 2551.