ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ในมุมมองนักบัญชีของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย

Main Article Content

ภาวินีย์ ธนาอนวัช
วิชิต อู่อ้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมของธุรกิจSMEs ในประเทศไทย เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย และเพื่อพัฒนาตัวแบบการบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Method) ผู้วิจัยกำหนดประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นภาคการผลิตและขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งมีจำนวน 113,722 ราย [1] ใช้วิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 10 -20 คนต่อตัวแปรองค์ประกอบในการวิจัยตามเกณฑ์ข้อกำหนดการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Model:SEM) [2] ทั้งนี้การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม พบว่ามีองค์ประกอบทั้งสิ้น 14  องค์ประกอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วนน่าเชื่อถือมากขึ้น ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจำนวน 400 ตัวอย่าง ซึ่งมีจำนวนเพียงพอและมากกว่าขนาดกลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำที่สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือทางสถิติได้ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM)


            ผลการวิจัย การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยระบบสารสนเทศทางการบัญชี พบว่าด้านการนำเสนอข้อมูลมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.844 และค่าS.D เท่ากับ 0.819 ปัจจัยพลเมืองธุรกิจ พบว่าการทดลองและวิเคราะห์ปัญหามีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.883 และค่าS.D เท่ากับ 0.901 ปัจจัยความรู้ด้านการบัญชี พบว่าทักษะระดับมืออาชีพมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.891 และค่าS.D เท่ากับ 0.731 ปัจจัยการบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม พบว่าด้านสินทรัพย์สิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.926 ค่าS.D เท่ากับ 0.719 และผลการดำเนินงานทางธุรกิจพบว่าผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงิน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.817 และค่าS.D เท่ากับ 0.723 ผลการวิเคราะห์การตรวจสอบข้อมูลก่อนการวิเคราะห์ตัวแบบเชิงโครงสร้าง พบว่าตัวแปรสังเกตได้ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับระดับมาก ( =3.687–3.926) ค่าความเบ้ (Skewness)  มีการแจกแจงในลักษณะเบ้ซ้าย ค่าความเบ้เป็นลบและส่วนใหญ่มีค่าความโด่ง (Kurtosis) มากกว่าศูนย์ แสดงว่าข้อมูลของตัวแปรสังเกตได้ดังกล่าวมีการกระจายข้อมูลในลักษณะสูง  ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างตามสมมติฐานพบว่า โมเดลจำลองสมการเชิงโครงสร้างมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ ผลการวิเคราะห์เส้นทางพบว่าระบบสารสนเทศทางการบัญชี พลเมืองทางธุรกิจ ความรู้ด้านการบัญชี มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ความรู้ด้านการบัญชีมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และการบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การพัฒนาตัวแบบการบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมพบความสอดคล้องระหว่างการทบทวนวรรณกรรมกับข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถาม พบจำนวนองค์ประกอบที่สอดคล้องกับวรรณกรรม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงพร้อมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อยืนยัน การพัฒนาตัวแบบในครั้งนี้มีความสอดคล้องกันอย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, SMEs ไทยก้าวไกลสู่สากล, กรุงเทพฯ: สานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2560.
2.สุภมาส อังศุโชติ, สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL, พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์, 2554.
3.European Association for Business and Commerce, Bangkok, Thailand. 11 October 2017.
4.Asian Development Bank, Report and Recommendation of the President to the Board of Directors, Project Number: 49084-001 November 2015.
5.Katherine Leanne Christ, Roger Burritt, Mohsen Varsei, "Towards environmental management accounting for trade-offs," Sustainability Accounting, Management and Policy Journal, Vol. 7, 2016
6.Riva, E, D., & Salotti, B, M., “Adoption of the International Accounting Standard by Small and Medium-Sized Entities and its Effects on Credit Granting,” Revista Contabilidade & Finanças, Vol. 26 No. 69, pp.304-316, 2016.
7.Minna Saunila, Sanna Pekkola and Juhani Ukko, “The relationship between innovation capability and performance The moderating effect of measurement,” International Journal of Productivity and Performance Management, Vol. 63 No.2, pp. 234-249, 2014.
8.Laurentiu Mihai, Adriana Burlea Schiopoiu & Magdalena Mihai, “Comparison of the leadership styles practiced by Romanian and Dutch SME owners,” International Journal of Organizational Leadership, Vol 6, pp. 4-16, 2016.
9.Pradip Kumar Das, “Environmental accounting and corporate responsibility: An emerging concept,” IMS Business School Presents Doctoral Colloquium, 2017.
10. Hartmann, “Accounting research: between natural science and practice,” Revista Contabilidade & Finanças; São Paulo, Vol. 28 No.73, 2017.