การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

Main Article Content

ชูชาติ มงคลเมฆ
พรเทพ รู้แผน
นริสานันท์ เดชสุระ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 235 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยจัดทำ (ร่าง) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมและนำไปตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3) ประเมินรูปแบบโดยการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาทั้งหมดในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จำนวน 47 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางส่วนความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ประกอบด้วย2.1)หลักการและเหตุผล2.2)วัตถุประสงค์2.3)กรอบแนวคิด/ทฤษฎี2.4)กระบวนการพัฒนาซึ่งประกอบด้วยรายการปฏิบัติ 3 ด้าน คือ 2.4.1) ด้านความรู้เรื่องการบริหารหลักสูตรและการจัดการการเรียนรู้ และเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนจำนวน 15 รายการ 2.4.2) สมรรถนะด้านทักษะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานการทำงานเป็นทีมและการพัฒนาผู้เรียนจำนวน  13 รายการ 2.4.3) สมรรถนะด้านเจตคติเรื่องภาวะผู้นำของครูเรื่องการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือจำนวน 11 รายการ 2.5) ประโยชน์ที่ได้รับ 3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมทุกองค์ประกอบมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก(gif.latex?\mu = 3.83) และมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริงอยู่ในระดับมาก( gif.latex?\mu = 3.80) ซึ่งสูงกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ gif.latex?\mu = 3.80

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กรุงเทพฯ, 2544.
2.P.F. Drucker, The Practice of Management, New York : Harper & Row, 2005.
3.David, Keith and Newstrom, W. John , Human behavior at work : Organization(8th ed.), New York : McGraw-Hill, 1985.
4.นพวรรณ เชาว์ดำรงสกุล, “การพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถาบันราชภัฎ,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564.
5.C.F. Conrad, & R.F Wilson}. ,Academic Program Review, Washington, D.C. :KoganPage, 1985
6.P.J.Keeves, Educational research, Methodology and measurement : An international handbook, Oxford :Pergamon Press, 1988.