กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอป ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอปผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี และ (2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอปผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล ตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าโอทอปผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 385 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามได้รับการสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์การซื้อขายสินค้าโอทอปในสื่อสังคมออนไลน์ และทราบถึงแหล่งสินค้าโอทอปผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่รู้จักเป็นครั้งแรกจาก Facebook มากที่สุด เหตุผลการเลือกซื้อสินค้าโอทอปผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพราะขั้นตอนการซื้อไม่ยุ่งยาก นิยมเลือกซื้อเสื้อผ้า/เครื่องแต่งกาย ความถี่ในการซื้อนาน ๆ ครั้ง แต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายในการซื้อมากที่สุด คือ 500-1,000 บาท นิยมเข้าไปเลือกซื้อสินค้าโอทอป มากที่สุด จาก Facebook และชำระค่าสินค้าโดยการโอนผ่านธนาคาร/ATM/Internet Banking ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ โดยรวมทั้ง 6 ด้าน พบว่า มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอปผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2.อรพรรณ บุลสถาพร, “กลยุทธ์การตลาดส้มโอขาวแตงกวาภายใต้โครงการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดชัยนาท,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2549.
3.สุธัญรัตน์ ใจขันธ์, “การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก,” การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2554.
4.ทัศนา หงส์มา, “ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า OTOP ที่ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี,” นนทบุรี, วิทยาลัยราชพฤกษ์, 2553.
5.พัชรินทร์ บุญสมธป และณัฏฐ์ดนัย ไค่นุ่นภา, “การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี,” กาญจนบุรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2560.
6.Yamane, T, Statistics: An Introductory Analysis, 2nd ed. New York, Harper and Row, 1967.
7.สวนีย์ จินดาวงศ์, “แนวทางพัฒนาส่วนผสมการตลาดของผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา,” วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์, 2558.
8.วิภาดา พิทยาวิรุฬห์ และณักษ์ กุลิสร์, “สื่อดิจิตอลที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาด,” วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ., ปีที่ 5, ฉบับที่ 1, หน้า 80, 2557.
9.จารุณี ภัทรวงษ์ธนา, “การขยายช่องทางการตลาดออนไลน์สินค้าหัตถกรรมชุมชนตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่โดยใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์,” สำนักวิทยบริการ, มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 2557.
10.มาลินี คำเครือ และคณะ,“การพัฒนาเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่เศรษฐกิจดิจิทัล,” กาญจนบุรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2560.