ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการทำงานวิจัย ในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจในการทำงานวิจัย ระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ระดับความเข้าใจนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ระดับความพอใจในงาน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการทำงานวิจัยของนักวิจัยในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักวิจัยในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญวิจัย นักวิจัยอาวุโส นักวิจัย และนักทดลองวิทยาศาสตร์วิจัย จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงและความตรง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาในการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการทดสอบการถดถอยอย่างง่าย และการถดถอยพหุคูณ เพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการทำงานวิจัยของนักวิจัยในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ผลการวิจัย พบว่า นักวิจัยในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยส่วนใหญ่มีระดับความตั้งใจในการทำงานวิจัย และระดับความพอใจในงานอยู่ในระดับมาก ระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และระดับความเข้าใจนโยบายไทยแลนด์ 4.0 อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่า การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ด้านความมั่นคงในการทำงาน และความพอใจในงาน ด้านลักษณะงานที่ท้าทายระดับสติปัญญามีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจในการทำงานวิจัยของนักวิจัยในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2.มัณฑกา ลบล้ำเลิศ. (5 เมษายน 2560). ประเทศไทย กับ กับดักรายได้ปานกลาง. สืบค้นจากhttp://www.dpim.go.th/service/download?articleid=7555.
3.สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2 กุมภาพันธ์ 2560). แนวคิดเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0. สืบค้นจาก http://www.facebook.com/drsuvitpage/posts/1396306724009387.
4. (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560–2564, สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ, 2559.
5.จิตรลดา พิศาลสุพงศ์ และคณะ, “ภาพรวมการพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย,”วารสารเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ปีที่ 51, ฉบับที่ 1, หน้า 27-32, 2557.
6.พันธ์รบ ราชพงศา, “การวิจัยและพัฒนา: กุญแจแห่งความก้าวหน้าในอาเซียน,” หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ Section : ASEAN+, ปีที่ 3, ฉบับที่ 139, หน้า 1, 2557.
7.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (5 เมษายน 2560). การเปิดเผยข้อมูลองค์กร. สืบค้นจาก http://www.tistr.or.th.
8.ปริญดา วิรานุวัตร, “ผลของภาวะผู้นำและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของทีมเรือในกิจการเดินเรือ: กลไกการทำงานที่มีความผูกพันด้านจิตใจเป็นตัวแปรสื่อ,” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
9.Rhoades Linda & Robert Eisenberger, “Perceived Organizational Support: A Review of the Literature,” Journal of Applied Psychology, Vol. 87, No. 4, pp. 698-714, 2002.
10.Homans G. C, “Social behavior as exchange,” American Journal of Sociology, Vol. 63, No. 6, pp. 597-606, May. 1958.
11.ศศินันท์ ทิพย์โอสถ, “การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การของพนักงานที่มีผลต่อการปฏิบัติงานในภาคธุรกิจธนาคาร,” วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2556.
12Eisenberger R., Huntington R., Hutchison S., & Sowa D, “Does pay for performance increase or decrease perceived self-determination and intrinsic motivation,” Journal of Personality and Social Psychology, Vol. 77, No. 5, pp. 1026-1040, 1986.
13.Stephen P. Robbins, Organizational Behavior Concepts, Controversics and Applications 2nd ed, Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice – Hall Inc, 1983.
14.Schaufeli W. B. & Bakker A. B, “Job demands, job resources, and their relationship with burnout and engagement: A multi-sample study,” Journal of Organizational Behavior, Vol. 25, No. 3, pp. 293-315, 2004.
15. Krejcie Rubert V. and Morgan Daryle W, “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement, Vol.30, pp. 607-610, 1970.
16.เปรมจิตร คล้ายเพ็ชร์, “การรับรู้ การสนับสนุนจากองค์การ ความยุติธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันองค์การ และความตั้งใจลาออก,” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ,มหาวิทยาลัยเธรรมศาสตร์, 2548.
17.ภรรคพร เล็กขาว, “ปัจจัยในการทำงานที่ส่งผลต่อความเครียดและความผูกพันในงานของบุคลากรสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน,” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.
18. Rhoades Linda, Robert Eisenberger and Stephen Armeli, “Affective Commitment to Organization: The Contribution of Perceived Organizational Support,” Journal of Applied Psychology, Vol. 86, No.5, pp. 825-836, 2001.
19. Shore L.M. and Shore T.H., Percieved Organizational Support and Organizational Politics, Justice and Support: Managing Social Climate at work, Quorum Press, 1985.
20. Sythanonxay Xangsayasane, “ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ
การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความมุ่งมั่นในการทำงาน ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคาร ในกลุ่มธนาคารธุรกิจของรัฐ ในเขตพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว,” วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2560.
21. Saimir Suma, “Job Satisfaction and Organizational commitment: The case of SHKODRA Municipality,” European Scientific Journal, Vol. 9, No. 17, pp. 41-51, June. 2013.
22. Brenda G., “Job Satisfaction and Organizational Commitment of Higher Education Administrators in Maryland Universities,” Doctor of Education, East Tennessee State University, 2017.