กฎหมายต้นแบบเพื่อการใช้บังคับผังเมืองเฉพาะ

Main Article Content

อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

บทคัดย่อ

               การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยกฎหมายผังเมืองเฉพาะชุมชนเกาะช้าง ฝั่งตะวันตก หวัดตราด โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น


              การวิจัยพบว่าเกาะช้างเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่เป็นไปตามปัจจัย 5 ด้านสำหรับการพิจารณาจัดทำผังเมืองเฉพาะ คือ หลักเกณฑ์การเลือกพื้นที่ โครงสร้างของผังเมืองเฉพาะ องค์กรดำเนินการ การมีส่วนร่วมของประชาชน และลำดับศักดิ์ของกฎหมายให้ใช้บังคับผังเมืองเฉพาะ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยผังเมืองเฉพาะพื้นที่เกาะช้าง มี 32 มาตรา ประกอบด้วย หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นการเฉพาะ หมวด 3 มาตรการเพื่อปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของผังเมืองเฉพาะ หมวด 4 บทกำหนดโทษ


              การวิจัยเสนอแนะให้ออกกฎกระทรวงกำหนดรายละเอียดการนำกฎหมายไปบังคับใช้และการแก้ไขพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกรรมการในคณะกรรมการผังเมืองและให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำผังเมืองเฉพาะตามที่ประชาชนต้องการ หัวข้อที่เสนอให้วิจัยต่อ คือการจัดทำผังเมืองเฉพาะเกาะช้าง (ฝั่งตะวันออก) เพื่ออนุรักษ์ชุมชนเกษตรกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สมาพร นิลประพันธ์. (16 เมษายน 2558). ความเป็นมาสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการผังเมืองของประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www. lawreform.or.th6.

สุวัฒนา ธาดานิติ, การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเมือง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

เฮอร์เบิต จิราเดย์, (พิยาน อุดมวิทย์พงศ์, ผู้แปล). ทำเมืองให้น่าอยู่, มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2539.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, ปรัชญากฏหมาย, ในการผังเมือง การพัฒนาเมืองกับปรัชญากฎหมาย, กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2562.

อภิชาต พงษ์สวัสดิ์. (3 ตุลาคม 2559). สิทธิการมีส่วนร่วมของชุมชนกับกฎหมายผังเมือง. สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย. สืบค้นจาก http://www.Irct.go.th/th/wp-content.