การพัฒนารูปแบบศาลทหารที่เป็นอิสระจากอำนาจบริหาร

Main Article Content

ประเสริฐ แดงไผ่
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

บทคัดย่อ

               การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำรูปแบบศาลทหารให้เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร กำหนดขอบเขต การวิจัยเฉพาะศาลทหารปกติ โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น


               การวิจัยพบว่าศาลทหารไม่เป็นอิสระในการใช้อำนาจตุลาการจาก 5 ปัจจัยที่บ่งชี้ถึงความเป็นอิสระของศาลทหารจากฝ่ายบริหาร คือ องค์กรสังกัด คณะกรรมการตุลาการศาลทหาร การแต่งตั้งและถอดถอนตุลาการ องค์คณะตุลาการ การออกข้อบังคับและระเบียบศาลทหาร ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบของการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และแตกต่างจากศาลทหารของประเทศพัฒนา


               การวิจัยเสนอแนะให้พัฒนารูปแบบศาลทหารให้เป็นอิสระจากฝ่ายบริหารโดยการมีนโยบายระดับชาติเพื่อให้มีการปฏิรูปศาลทหารและแก้ไขกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความศาลทหาร ข้อเสนอแนะ หัวข้อวิจัยต่อ คือ โครงสร้างกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความศาลทหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน, พิมพ์ครั้งที่ 3, สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2555.

2. สถิตย์ ไพเราะ, ความเป็นอิสระของผู้พิพากษาตามรัฐธรรมนูญ, รพี’48, บพิธการพิมพ์, 2548.

3. อัมพร มีศุข และ เสน่ห์ จามริก, สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย, พิมพ์ครั้งที่ 7, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2543.

4. สงขลา วิชัยขัทคะ, อิทธิพลตะวันตกที่มีผลต่อการปฏิรูประบบกฎหมายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, เอกสารวิชาการนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 7 สถาบันพระปกเกล้า, 2546.

5. สมาน สุดโต, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 กษัตริย์นักธุรกิจ, เอกสารความรู้ สดร.12/ปีงบประมาณ 2554: สถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย, 2554.

6. กรมพระธรรมนูญ, 100 ปี กรมพระธรรมนูญ 12 กันยายน 2449-2549, กองกลาง กรมพระธรรมนูญ, 2549.

7. สำนักตุลาการทหาร กรมพระธรรมนูญ, ระบบศาลทหารและวิธีพิจารณาความอาญา, เอกสารสำนักตุลาการทหาร, สำนักตุลาการทหาร, (ม.ป.ป.).

8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โครงการศึกษารวบรวมข้อมูลด้านการเมืองการปกครองของไทย ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสถาบันฝ่ายตุลาการ, ศูนย์วิจัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546.

9. United Nations’ Basic Principles on the Independence of the Judiciary. (May 6, 2018). United Nations Available from https:// www.un.org /ruleoflaw/blog/ document/basic-principles-on theindepen dence- of-the-judiciary/.

10. Universal Charter of the Judge. (March 25, 2017). International Association of Judges, Availablefrom https://www.iaj-uim.org/universal -charter-of-the-judges/.

11. The Bangalore Principles of Judicial Conduct. (March 25, 2017, 2002). United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC). Available from https://www. unodc.org/.

12. University of Minnesota. (May 5, 2017.). Draft Principles Governing the Administration of Justice through Military Tribunals, Available from https://hrlibrary. umn.edu/ instree/DecauxPrinciples.html.