ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าของอาชีพข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

kedsarin treesuwan

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 347 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ


            ผลการศึกษาพบว่า 1) ความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ อยู่ในระดับมาก ความก้าวหน้าในอาชีพ อยู่ในระดับมาก และความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง และ 2)ระบบการบริหารบุคคลภาครัฐ คุณภาพการทำงานและผู้บริหาร มีผลกับความก้าวหน้าของอาชีพข้าราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2559, จาก http://www.ayutthayalocal.go.th/front
page, 2559.
[2] Taro, Y. Statistics : An Introductory Analysis
(3rd ed). New York : Harper and Row, 1973.
[3] อารีรัตน์ ลำเจียกมงคล, “ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของกลุ่มวิชาชีพครูในสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1,” การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.
[4] ธนกร จันทร์ระวาง, “ความก้าวหน้าในอาชีพข้าราชการส่วนภูมิภาคที่โอนไปสังกัดเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่,” วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.
[5] มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, การบริหารงานบุคคลภาครัฐ, (พิมพ์ครั้งที่ 27) นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554.
[6] เฉลิมศรี สารสุวรรณ, “ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาการ ศึกษาเฉพาะกรณี : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,” วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสาธารณะสำหรับผู้บริหารยุคใหม่, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 2558.
[7] จุรีรัตน์ จอมวุฒิ, “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการท้องถิ่นในอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก,” วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2550.
[8] ธิติมา ไชยมงคล, ทฤษฎีภาวะผู้นำและทฤษฎีการบริหาร, เอกสารประกอบการสอนวิชาภาวะผู้นำทางการพยาบาลและการจัดการ, 2557.