สมรรถนะของเจ้าหน้าที่จัดการคลังสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศ

Main Article Content

ภาณุมาศ เนียมพลับ
สุรมงคล นิ่มจิตต์

บทคัดย่อ

             การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้ปฏิบัติงานด้านคลังสินค้าในธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ ด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ นักทรัพยากรบุคคล หัวหน้างานคลังสินค้าและพนักงานคลังสินค้าในอุตสาหกรรมธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ จำนวน 11 คน และนักวิชาการด้านทรัพยากรมนุษย์ 1 คน นำผลการสัมภาษณ์และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมขนส่งสินค้าทางอากาศ มีอยู่ 5 ด้าน ได้แก่  ขาดความอดทน  ขาดความรับผิดชอบ  ขาดการทำงานเป็นทีม  ขาดความขยันและความกระตือรือร้น ขาดทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  2) สมรรถนะของเจ้าหน้าที่จัดการคลังสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศในปัจจุบันมากที่สุด ได้แก่ ความสามารถในการแก้ปัญหา แม่นยำ รอบคอบ รองลงมาคือ ความอดทนในการทำงาน ความใฝ่รู้ ความมีระเบียบวินัย ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ความสามารถในการใช้โปรแกรม คุณธรรมน้ำใจ ความกระตือรือร้น ทักษะการสื่อสาร มีความรู้เรื่องคลังสินค้าและโลจิสติกส์ 3) สังเคราะห์สมรรถนะของเจ้าหน้าที่จัดการคลังสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมขนส่งสินค้าทางอากาศ 3 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์


 


 


 


          

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559 –2564: รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2560, กระทรวงอุตสาหกรรม

อมรรักษ์ สวนชูผล และกัลป์รัตน์ ธีระชัยกุล, “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ เขตกลาง,” วารสารวิจัยละพัฒนา วไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปีที่ 10 ฉบับที่ 3, หน้า 21-29, 2558.

ศูนย์ข้อมูล SMEs Knowledge Center, การจัดทำเนื้อหาองค์ความรู้ SMEs, วารสารภายใต้งานพัฒนาศูนย์ข้อมูล SMEs Knowledge Center ปี 2557.

พีรยุทธ์ พัฒน์ธนญานนท์, “ผลกระทบของการเปิดเสรีอุตสาหกรรมการบริการของอาเซียนที่มีต่อธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย,” วารสารวิชาการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, xumuj 2 ฉบับที่ 1, หน้า 48-59, 2558.

Thomas, W.S. “Columbus.” Warehousing forum 24 (2009) : 2-7. Van den Berg, J.P. 2007. Integral Warehouse Management, The Netherlands: Management Outlook Publications.

Scott Parry, Evaluating the Impact of Training, AmericanSocietyfor Training and Develepement: USA, 1997.

กฤตภาส อารีรักษ์ และทวีศักดิ์ กฤษเจริญ, “สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้ปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ระดับปฏิบัติการในส่วนของคลังสินค้าของบริษัทไปรณีย์ไทย จำกัด เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน,” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2557, ปีที่ 11 ฉบับเดือนมกราคม-ธันวาคม, หน้า 10-29.

อรณิชา บุตรพรหม, คุณลักษณะบุคลากรด้าน โลจิสติกส์ที่องค์การเอกชนต้องการ กรณีศึกษา : ผู้ประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดปราจีนบุรี, 2018

กาญจนา ทองทัศย์, การศึกษาความต้องการคุณลักษณะบุคลากรทางด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการ กรณีศึกษา : ผู้ประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง, 2555.

Bandura A, Social foundations of thought and action: A social cognitive theory, NJ: Prentice-Hall, 1985.