ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท

Main Article Content

ปิยะพร เขียวอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน และด้านผู้ปกครองและชุมชน      ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชนที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ในปีการศึกษา 2561 โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 302 คน จากนั้นดำเนินการโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) แยกตามขนาดของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ (Percentage) คะแนนเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านผู้บริหาร โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ


3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีจำนวน 6 ด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (X10) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (X8) การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (X4) ครูมีเทคนิคและวิธีการวัดผลที่ดีและสามารถนำมาปรับปรุงการสอน (X7) และการกำหนดพันธกิจของโรงเรียน (X1)


ตัวแปรทั้ง 5 ตัว สามารถทำนายการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาทได้ร้อยละ 63.8 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ = 1.467 + .253X10 + .098X8 + .096X4 + .119X7 + .098X1 และคะแนนมาตรฐาน คือ = .382Z10 + .167Z8 + .113Z4 + .178Z7 + .157Z1


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ปิยะพร เขียวอินทร์, สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

 

 

Email : 

References

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, “การบริหารงาน วิชาการ,” กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, 2553.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. (9 พฤษภาคม 2561). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561 – 2564) ฉบับทบทวนปี 2561. สืบค้นจาก http://202.29.211.60/plan/data/plan4years_re.pdf.

Krejcie Rubert V. and Morgan Daryle W, “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement, Vol.30, pp. 607-610, 1970.

อุทัย บุญประเสริฐ, “หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน,” กรุงเทพฯ: เอส ดี เพรส, 2540.

แกร่งกล้า สุวรรละโพลง, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน จังหวัดเชียงราย,” วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยพะเยา, 2560.

สุภาภรณ์ จันทร์กลม, “ความสัมพันธ์ระหว่าง สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการปฏิบัติงานบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนในอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง,” งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556.

บันดิต ทีแก้ว, “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการและกีฬาแขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 2557.

คณภร อัตจริต, “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนคลองใหญ่วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17,” งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556.

ชนิดา วงค์เพ็ชร, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2555.

นัฏฐกร แก่นดี, “รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษา,” วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 2556.