การศึกษาความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ การรับรู้การจัดการด้านอาชีพจากองค์กร และความตั้งใจลาออกของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ทัชชา ไชยกิจ
บัญญัติ ยงย่วน
วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์
พัชรินทร์ เสรี

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้การจัดการด้านอาชีพจากองค์กร และความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การจัดการด้านอาชีพจากองค์กร และความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ และ3) เพื่อศึกษาความตั้งใจลาออกของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 280 คน ซึ่งได้มาโดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีการรับรู้การจัดการด้านอาชีพจากองค์กรอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ( gif.latex?\bar{x}=3.61, S.D=.53) โดยพนักงานฝ่ายสำนักงาน ( gif.latex?\bar{x}=3.58, S.D=.44) มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าพนักงานฝ่ายผลิต ( gif.latex?\bar{x}=3.62, S.D=.55) และพนักงานมีความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (gif.latex?\bar{x} =4.05, S.D=.40) โดยพนักงานฝ่ายสำนักงาน (gif.latex?\bar{x} =4.06, S.D=.33) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าพนักงานฝ่ายผลิต ( gif.latex?\bar{x}=4.05, S.D=.42) 2) การรับรู้การจัดการด้านอาชีพจากองค์กร มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพในทิศทางบวก (r=.35) และ 3) พนักงานส่วนใหญ่ไม่คิดลาออก (ร้อยละ 74.64)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (29 มีนาคม 2561). จํานวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha. soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF.

ศรีเรือน แก้วกังวาล, จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย วัยรุ่น-วัยสูงอายุ เล่ม2, พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.

จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี. (15 กุมภาพันธ์ 2559). 5 เหตุผลที่คนทำงานคิดจะลาออก. สืบค้นจาก http://th.jobsdb.com/th-th/articles/เหตุผลของการลาออกจากงาน.

ณัฐวี โฆษะฐิ. (29 มีนาคม 2561). 3 ปัจจัยหลักที่ให้พนักงานคิดลาออกจากองค์กร. สืบค้นจาก

http://www.sasinconsulting.com/publication/

Guan, Y., Zhou, W., Ye, L., Jiang, P., & Zhou, Y. “Perceived organizational career management and career adaptability as predictors of success and turnover intention among Chinese employees,” Journal of Vocational Behavior, Vol 88, pp 230-237, 2015.

Savickas, M.L., & Porfeli, E.J. “Career adapt-abilities scale: construction, reliability, and measurement equivalence across 13 countries,” Journal of Vocational Behavior, Vol 80, No.3, pp. 661-673, 2012.

Chan, S.H.J., Mai, X., Kuok, O.M.K., & Kong, S.H. “The influence of satisfaction and promotability on the relation between career adaptability and turnover intentions,” Journal of Vocational Behavior, Vol. 82, pp. 167-175, 2016.

Nye, D.C, Leong, F., Prasad, J., Gardner, D., & Tien, H. “Examining the structure of the career adapt-abilities scale: the cooperation dimension and a five-factor model,” Journal of Career Assessment, Vol 26, No.3, pp. 549-562, 2017.

บัญญัติ ยงย่วน, “พัฒนาการด้านอาชีพในช่วงชีวิตของมนุษย์,” มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557.