พัฒนาแหล่งเรียนรู้ออนไลน์เสริมทักษะคอมพิวเตอร์ด้านการสืบค้น และอ้างอิงเพื่อสนับสนุนการทำผลงานทางวิชาการของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

Main Article Content

นายสมเจตน์ ฤทธิ์เดช
รุ่งรวี ลาภมูล
นิลุบล ทองชัย

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ออนไลน์เสริมทักษะคอมพิวเตอร์ด้านการสืบค้นและอ้างอิงเพื่อสนับสนุนการทำผลงานทางวิชาการของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ในรูปแบบเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นนำเสนอข้อมูลเรื่อง การสืบค้นข้อมูล การอ้างอิง ผลงานทางวิชาการ และการใช้งาน EndNote เป็นหมวดหมู่แบบแท็บ (Tab) และเชื่อมโยงข้อมูลที่ละเอียดขึ้นในรูปของลิงค์เอกสารดาวน์โหลด คลิปไฟล์วิดีโอต่างๆ ทำให้ส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้มีความซับซ้อนน้อยที่สุด รองรับอุปกรณ์หลายแพลตฟอร์ม ปรับการนำเสนอข้อมูลแบบอัตโนมัติ (responsive) ผลการประเมินประสิทธิภาพของแหล่งเรียนรู้ออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ด้านภาพ ด้านตัวอักษร ด้านโปรแกรมและการออกแบบ และด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}  =4.25, S.D.=0.63)  เมื่อนำไปเผยแพร่ให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ทดลองใช้ตามความสมัครใจ มีผู้ทดลองใช้และตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 38 คน ส่วนใหญ่อายุ 35-44 ปี (ร้อยละ 62.2) มีสัดส่วนวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท (ร้อยละ 51.4) ปริญญาเอกและปริญญาตรีตามลำดับ และเป็นบุคลากรสายสอน (ร้อยละ 64.9) มากกว่าสายสนับสนุน เกือบทั้งหมดมีความต้องการจะทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น (ร้อยละ 91.9) นอกจากนี้ผลการประเมินประเด็นข้อคำถาม พบว่า ผู้ใช้พึงพอใจในระดับ ‘พึงพอใจมาก’ ทั้งในภาพรวม ( gif.latex?\bar{x} = 4.26, S.D.=0.73) รายด้านและรายข้อคำถาม มีผลการประเมินอยู่ในช่วง 4.05-4.38 ซึ่งประเด็นที่ผู้ใช้พอใจสูงสุดของทั้ง 3 ด้าน สะท้อนให้เห็นว่าการออกแบบและนำเสนอข้อมูลที่ได้จัดทำสอดคล้องกับความต้องการใช้ของผู้ใช้ และจะได้นำข้อเสนอแนะที่ได้รับไปปรับปรุงให้เว็บไซต์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิลุบล ทองชัย, สมเจตน์ ฤทธิ์เดช, “รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต่อการทำผลงานทางวิชาการ ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี,” Pulinet Journal, ปีที่ 4, ฉบับที่ 3, หน้า 72-82, 2560.

นิลุบล ทองชัย, รุ่งรวี ลาภมูล, “ศึกษาเพื่อหาแนวทางส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ให้บริการผ่านสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี,” Pulinet Journal, ปีที่ 1, ฉบับที่ 3, หน้า 30-36, 2557.

ณัฏฐลักษณ์ ศรีมี, แหล่งเรียนรู้: ขุมทรัพย์ทางปัญญาเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต ในแนวคิดทฤษฎีที่น่ารู้ทางการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

ธนาดล สมบูรณ์, สมถวิล ธนะโสภณ, “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านเว็บ ระดับประถมศึกษาตอนต้น,” วารสารสุทธิปริทัศน์, ปีที่ 29, ฉบับที่ 90, หน้า 87-42, 2544.

กรมสามัญศึกษา, การพัฒนาและการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2544.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง, “การสอนบนเว็บนวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน,” วารสารศึกษาศาสตร์สาร, ปีที่ 28, ฉบับที่ 1, หน้า 87-94, 2544.

N. Tongchai, “Impact of self-regulation and open learner model on learning achievement in blended learning environment,” International Journal of Information and Education Technology, Vol.6, No. 5, pp. 343–347, 2016.

รุ่งรวี ลาภมูล และนิลุบล ทองชัย, “รูปแบบการถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ ในการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ให้บริการผ่านสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี,” รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2560.

จินตวีร์ คล้ายสังข์, หลักการออกแบบเว็บไซต์ทางการศึกษา: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2554.

บุญชม ศรีสะอาด, วิจัยเบื้องต้น, กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.

สมเจตน์ ฤทธิ์เดช และคณะ, “พัฒนาแหล่งเรียนรู้ออนไลน์เสริมทักษะคอมพิวเตอร์ด้านการสืบค้นและอ้างอิงเพื่อสนับสนุนการทำผลงานทางวิชาการของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี,” รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2561.