ปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กร ของพนักงาน บริษัท พีแอนด์พี อิเลคทรอนิกส์ เทคโนโลยี จำกัด

Main Article Content

มาลินี เกลี้ยงล่ำ
บุญสม เกษะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความแตกต่างด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท พีแอนด์พี อิเลคทรอนิกส์ เทคโนโลยี จำกัด (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานบริษัท พีแอนด์พี อิเลคทรอนิกส์ เทคโนโลยี จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงาน บริษัท พีแอนด์พี อิเลคทรอนิกส์ เทคโนโลยี จำกัด จำนวน 114 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และทดสอบคือ การวิเคราะห์หาความแตกต่าง T- test การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-way ANOVA) และการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ด้วยวิธี Pearson Correlation ผลวิจัยพบว่าพนักงานที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนมากเป็นพนักงานชาย อายุ 25-30 ปี ขึ้นไป ส่วนใหญ่สถานภาพโสด ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ทำงานในฝ่ายพนักงานฝ่ายบริการธุรกิจและส่วนใหญ่มีรายได้ 20,001-30,000 บาท ส่วนใหญ่อายุงานต่ำกว่า 3 ปี ระดับความคิดเห็นของพนักงานด้านการได้รับการยอมรับนับถือ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 รองลงมาคือด้านสวัสดิการและค่าตอบแทน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 ด้านผู้บังคับบัญชา มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลาง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 ด้านความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลาง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.39 ระดับความคิดเห็นของพนักงานด้านความพยายามอย่างเต็มที่ในการทำงานเพื่อองค์กรอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 รองลงมาคือ ด้านความเชื่อมั่น การยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กรอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 และด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะคงเป็นสมาชิกขององค์กรอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สมมติฐานที่ 1 เปรียบเทียบความจงรักภักดีต่อองค์กร ของพนักงาน จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ฝ่ายงานที่ทำ รายได้ต่อเดือน อายุงาน พบว่า ระดับการศึกษาที่ต่างกันมีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กร ของพนักงาน และ สมมติฐานที่ 2 ปัจจัยด้านความพึงพอใจในงานที่ประกอบไปด้วย ด้านผู้บังคับบัญชา ด้านความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน ด้านสวัสดิการและค่าตอบแทน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และด้านความก้าวหน้าในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานบริษัท พีแอนด์พี อิเลคทรอนิกส์ เทคโนโลยี จำกัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์จังหวัดขอนแก่น,” สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2557.

จุไรรัตน์ แซ่เตียว และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ, “ความภักดีต่อองค์กรของพนักงานที่มีต่อธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กในส่วนปฏิบัติการ,” วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555.

พรพินิจ วงศ์สุนา, การบริหารเชิงกลยุทธ์, กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์พัฒนาวิชาการ (พ.ว.), 2558.

พสุ เดชะรินทร์, แนวทางการจัดการองค์กรยุคใหม่, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอมพันธ์, 2558.

วรรณวิสา ดำรงสกุลวงษ์, “ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงานในอุตสาหกรรมฟอกหนัง กรณีศึกษา บริษัท อินเตอร์ไฮค์ จํากัด (มหาชน),” สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2557.

Yamane Taro, Statistics: An Introductory Analysis Third edition, New York: Harper and Row Publication, 1976

Maslow Abraham, Motivation and Personality, New York: Harper and Row Publishers, 1970.

Herzberg, Frederick, Bernarol and Synderman, Barbara Bloch, The Motivation to Work, New York: John Wiley and Sons Inc, 1950.