การศึกษาเปรียบเทียบความคงทนในการทำงานระหว่างเด็กอนุบาลสาม ที่ได้รับและไม่ได้รับนิทานภาพการ์ตูนเป็นตัวแบบมุ่งมั่นในการทำงาน จนสัมฤทธิผลของโรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

วิจิตร อาสาสุข

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อเปรียบเทียบความคงทนของพฤติกรรมในการทำงานระหว่างเด็กที่ได้รับ (กลุ่มทดลอง) และไม่ได้รับ (กลุ่มควบคุม) นิทานภาพการ์ตูนเป็นตัวแบบมุ่งมั่นในการทำงานจนสัมฤทธิผล 2.เพื่อเปรียบเทียบความคงทนของพฤติกรรมในการทำงานของเด็กที่ได้รับนิทานภาพการ์ตูนเป็นตัวแบบมุ่งมั่นในการทำงานจนสัมฤทธิผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กชั้นอนุบาล 3 ประจำปีการศึกษา 2560 โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีความคงทนของพฤติกรรมในการทำงานน้อย จำนวน 30 คน สุ่มเข้า 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1.นิทานภาพการ์ตูนเป็นตัวแบบมุ่งมั่นในการทำงานจนสัมฤทธิผลที่ผู้วิจัยแต่งและเรียบเรียงขึ้นจำนวน 10 เรื่อง 2. แบบสังเกตความคงทนพฤติกรรมในการทำงาน โดยเครื่องมือทั้ง 2 ชุดนี้ได้รับการตรวจสอบคุณภาพก่อนที่จะใช้ทดลอง ใช้เวลาในการทดลองครั้งละ 20 นาที เป็นเวลา 10 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบความคงทนของพฤติกรรมในการทำงานจนสัมฤทธิผลระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม โดยใช้ t-test แบบ independent และเปรียบเทียบความคงทนของพฤติกรรมในการทำงานจนสัมฤทธิผลก่อนและหลังการได้รับนิทานภาพการ์ตูน โดยใช้ t-test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กที่ได้รับนิทานภาพการ์ตูนเป็นตัวแบบมุ่งมั่นในการทำงานจนสัมฤทธิผล(กลุ่มทดลอง) มีความคงทนของพฤติกรรมในการทำงานนานกว่าเด็กที่ไม่ได้รับนิทานภาพการ์ตูน (กลุ่มควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการได้รับนิทานภาพการ์ตูนเป็นตัวแบบมุ่งมั่นในการทำงานจนสัมฤทธิผล เด็กมีความคงทนของพฤติกรรมในการทำงานนานกว่าก่อนการได้รับนิทานภาพการ์ตูน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bandura, “การเรียนรู้จากตัวแบ,บ” Sociai Cognitive, New.Jersey : Prentice-Hall, 1997.

Dix, and others, “Training Disaolvantaged Preschoolers on Various Fantacy Activities Effeetson Cognitive Functioning ang Impulse Controle,” Child Development, 1977.

ไชยนันท์ แสงทอง. “การพัฒนาชุดกิจกรรม การเล่านิทาน เพื่อสร้างวินัยในตนเองของนักเรียน,” วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตร, และวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร 2546.

กฤษณา สังข์วะระปรีชา และ ประภาพร ปาจิตร์ “การจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมการเล่า นิทานประกอบการแสดงบทบาท สมมติ}” มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2551.