การเสริมสร้างพลังอำนาจที่มีต่อคุณลักษณะทางจิต ทักษะการคิด และผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานการเงินเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนคุณลักษณะทางจิต ด้านการรับรู้ความสามารถในตนเอง และด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง ก่อนและหลังการเสริมสร้างพลังอำนาจของพนักงานการเงิน โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง 2) เปรียบเทียบคะแนนทักษะการคิด ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลังการเสริมสร้างพลังอำนาจของพนักงานการเงิน โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง 3) เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงาน ด้านเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และด้านข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง ก่อนและหลังการเสริมสร้างพลังอำนาจของพนักงานการเงิน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานการเงินของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 16 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่าคุณลักษณะทางจิต ด้านการรับรู้ความสามารถในตนเอง และด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง ทักษะการคิด ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา ผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความสามารถในตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง และความสามารถในการแก้ปัญหา หลังการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่า ก่อนการเสริมสร้างพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังการเสริมสร้างพลังอำนาจต่ำกว่าก่อนการเสริมสร้างพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01 แต่ข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง หลังการเสริมสร้างพลังอำนาจต่ำกว่าก่อนการเสริมสร้างพลังอำนาจ อย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กิตติยาภรณ์ โชคสวัสดิ์ภิญโญ และ สุภาดา เจริญสวัสดิ์, “การทดลองใช้ พลังอํานาจเยาวชนต่อการแก้ไขปัญหาสุรา ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี,” สนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.), (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และศูนย์วิจัยปัญหาสุรา), (ม.ป.ป.).
สมรัชนาฏ ฦาชา และคณะ, “การพัฒนา รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี,” วารสารศึกษาศาสตร์, เดือน ก.ย.- ธ.ค., ปีที่ 26 ฉบับที่ 3, หน้า 175, 2558.
สุนทร โสภณอัมพรเสนีย์, “การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโดยกระบวน การสร้างเสริมพลังอำนาจ บ้านหนองพลวง ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา,” วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา, 2551.
ชนิษฎา สุรเดชาวุธ และคณะ, “ กระบวนการ เสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยเบาหวานแบบรายบุคคล,” วารสารเภสัชศาสตร์ อีสาน เดือนพ.ค - ส.ค. ปีที่ 7, ฉบับที่ 2, หน้า 64, 2554.
วริทย์ศา แสงไพบูลย์, “ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคลและการเสริมสร้างพลังอำนาจกับความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือกออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ชลบุรี,” วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บริหารสาธารสุข, 2550.