การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมิติการเสริมสร้างพลังอำนาจครูกับความผูกพัน ต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

เอกพล พันธุ์โชติ
กีรติ ศรีวิเชียร

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) มิติการเสริมสร้างพลังอำนาจครู 2) ความผูกพันต่อองค์กรของครู และ3) ความสัมพันธ์ระหว่างมิติการเสริมสร้างพลังอำนาจครู กับความผูกพันต่อองค์กรของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 340 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  โดยแบบสอบถามการเสริมสร้างพลังอำนาจครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .994 และ แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กรของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .993 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า       1) การเสริมสร้างพลังอำนาจครู ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการได้รับความเพิ่มพูนทักษะความสามารถ                   ( gif.latex?\bar{x}= 3.88,SD=0.92) รองลงมา คือ ด้านการได้รับการยกย่องชมเชย และการยอมรับ ( gif.latex?\bar{x}= 3.87, s.d.=0.96) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการได้รับทรัพยากร ( gif.latex?\bar{x}= 3.49, SD=1.05) 2) ความผูกพันต่อองค์กรของครู โดยรวม (gif.latex?\bar{x}= 4.09, SD=0.96) และรายข้ออยู่ในระดับมาก และ 3) การเสริมสร้างพลังอำนาจครู ด้านการได้รับทรัพยากร ด้านการได้รับการสนับสนุนและส่งเสริม ด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร ด้านการได้รับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านการได้รับความเพิ่มพูนทักษะความสามารถ และด้านการได้รับการยกย่องชมเชยและการยอมรับ ร่วมกันมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครู แต่เมื่อคัดเลือกตัวแปรที่ร่วมกันมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูมากที่สุด ปรากฏว่าได้ตัวแปรที่ร่วมกันมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูมากที่สุด 3 ตัว คือ ด้านการได้รับความเพิ่มพูนทักษะความสามารถ มีอิทธิพลมากที่สุด โดยมีอิทธิพลทางบวก รองลงมา คือ ด้านการได้รับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน   มีอิทธิพลทางลบ และด้านการได้รับการยกย่องชมเชยและการยอมรับ มีอิทธิพลทางบวก โดยตัวแปรทั้ง 3 ตัว สามารถ ร่วมกันกำหนดค่าความแปรปรวนของความผูกพันต่อองค์กรของครูได้ประมาณร้อยละ 52 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

อุไรวรรณ ซันตัล, “การศึกษาระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจของบุคลากร สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ,” วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปกร, 2551.

อรุณ โคตรวงษา, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจครูกับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2553.

อารีย์วรรณ อ่วมตานี, “การเสริมสร้างพลังอำนาจในระบบบริการพยาบาล,” มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช, 2550.

สมเกียรติ แก้วมณี, “การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังการทำงานของครู สังกัดสำนักงาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา,2555.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์, พฤติกรรมองค์การ,
ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.

พสิษฐ์ รติสกุลดิลก, “การศึกษาความสัมพันธระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูกับความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2558.

Steers, Organizational Effectiveness: A Behavioral View, Goodyear, 1991.

Mowday, et al, “Employee-Organization Linkage : The Psychology of Commitment Absenteeism. and Turnover,” Journal of Educational Administration, Vol.43, No.3, pp.260-227, 1982.

Porter & Lawler, Behavior in organizations, McGraw Hill, 1987.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1, “ข้อมูลจำนวนโรงเรียนห้องเรียน และครู ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1,” ผู้แต่ง, 2559.

Yamane, Statistics : an introductory analysis, Harper and Row, 1973.

กุหลาบ บึงไสย์, “การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2,” การค้นคว้าอิสระครุศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2551.

ประชุม บำรุงจิตร์, “ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการกับความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2551.