การศึกษาสภาพและความคาดหวังของผู้บริหารและครูที่มีต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาวิชาชีพครู (หลักสูตร 5 ปี)

Main Article Content

อัจฉราพรรณ กันสุยะ

บทคัดย่อ

การศึกษาสภาพและความคาดหวังของผู้บริหารและครูที่มีต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาวิชาชีพครู (หลักสูตร 5 ปี) โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของผู้บริหารและครูที่มีต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาวิชาชีพครู (หลักสูตร 5 ปี) จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียนและครูประจำการ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 352 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multistage random samplings) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามสภาพและความคาดหวังของผู้บริหารและครูที่มีต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาวิชาชีพครู (หลักสูตร 5 ปี) 1 ฉบับซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) จำนวน 30 ข้อ และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way analysis of variance: one way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน (post-hoc tests) ใช้การทดสอบเปรียบเทียบเชิงซ้อน (multiple comparison tests) โดยวิธีการของ Tukey’s ผลการสรุปดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันของการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 3.96, S.D.=.66) เพื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจุบันนักศึกษาครูมีจิตสาธารณะอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีจิตสาธารณะด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงสุดกว่าทุกด้าน ( gif.latex?\bar{x} = 4.01, S.D.=.70) รองลงมาคือ ด้านความรับผิดชอบ ( gif.latex?\bar{x} = 3.95, S.D.=.70) และด้านความเสียสละ ( gif.latex?\bar{x} = 3.90, S.D.=.69) ตามลำดับ และสภาพความคาดหวังของการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.33, S.D.=.64) เพื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้บริหารและครูต้องการให้นักศึกษาครูมีจิตสาธารณะอยู่ในระดับมากทุกด้าน และในกลุ่มโรงเรียนขนาดใหญ่ต้องการให้นักศึกษามีจิตสาธารณะอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน โดยมีความคาดหวังต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาครูด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงสุดกว่าทุกด้าน (gif.latex?\bar{x}  = 4.36, S.D.=.67) รองลงมาคือ ด้านความรับผิดชอบ (gif.latex?\bar{x}  = 4.43, S.D.=.68) และด้านความเสียสละ (gif.latex?\bar{x}  = 4.31, S.D.=.69) ตามลำดับ 2. สภาพปัจจุบันและความคาดหวังของผู้บริหารและครู ในด้านความรับผิดชอบ ด้านความเสียสละ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และภาพรวมที่มีต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาวิชาชีพครู (หลักสูตร 5 ปี) แตกต่างกันตามขนาดของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11,” คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545,” สำนักนายกรัฐมนตรี, 2542.

ชาย โพธิสิตาและคณะ, “รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง จิตสำนึกต่อสาธารณสมบัติ: ศึกษากรณีกรุงเทพมหานคร. นครปฐม,” สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. 2540.

สุคนธ์ธา เส็งเจริญ, “การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตสำนึกสาธารณะในนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,” ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2556.

อ้อมใจ วงษ์มณฑา, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร,” สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2553.

ปัณพร ศรีปลั่ง. “การพัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,” ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.

สุพจน์ ทรายแก้ว, “จิตสำนึกสาธารณะ การก่อรูปและกระบวนการเสริมสร้าง,” วารสารเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์. ปีที่ 4, ฉบับที่ 1, 2546, หน้า 48-49.

ปราโมทย์ โชติมงคล, “นโยบายกิจการนักศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัยในแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 8,” กองบริการการศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย, 2541.

อัญชลิกา ผิวเพชร. “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน,” วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ปีที่ 17, ฉบับที่ 1, 2555, หน้า 331-342.

นงลักษณ์ เขียนงาม, “การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดและจิตสาธารณะในวิชากิจกรรม แนะแนวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่,” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. ปีที่ 1, ม.ค.-มิ-ย, 2553, หน้า. 101-108.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจร, “สำนึกไทยที่พึงปรารถนา,” เดือนตุลา, 2543.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน, “การกำหนดปัญหาการวิจัยและการพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย: ด้านพฤติกรรมจริยธรรมและด้านอื่นๆ ครั้งที่ 2 วิธีการวิจัยและเขียนรายงานการวิจัย,” การประชุมทางวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์, 2538.