ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทำวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของราษฎรที่ไม่มีเอกสารสิทธิของประเทศไทยและของต่างประเทศ และเพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา พร้อมทั้งวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาดังกล่าว ทำให้สามารถหามาตรการทางกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพและสามารถบังคับใช้ให้เป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมาย
จากผลการศึกษาพบว่า ควรมีการปรับปรุง เพิ่มเติม หรือแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ครอบคลุมเสียก่อนมีมติคณะรัฐมนตรีซึ่งจะเป็นการปฏิบัติให้เป็นไปตามลำดับศักดิ์กฎหมายและจะทำให้มติคณะรัฐมนตรีสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งในการจ่ายเงินค่าทดแทนให้กับราษฎรซึ่งเข้าครอบครองที่ดินก่อนหรือหลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน รวมทั้งเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าขนย้าย รื้อย้าย อาคาร บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ยืนต้น พืชล้มลุก ควรมีการกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกันซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมอย่างแท้จริง
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
สำนักงบประมาณ. (10 ธันวาคม 2559). ผ่าตัวเลขถือครองที่ดินในประเทศไทย กรมป่าไม้ครองแชมป์ที่ดินรัฐ. สืบค้นจาก http://www.bb.go.th/BBfaq/asp/extn/asp/desc_topic.asp?cid=2549/0329&cbxtype=&no=238.
วิษณุ เครืองาม. (27 พฤศจิกายน 2561). รัฐบาลในด้านที่มาการบริหารราชการแผ่นดิน. สืบค้นจาก https://www.krisdika.go.th.
สมยศ เชื้อไทย, กฎหมายมหาชนเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 12, วิญญูชน, 2560.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 2 วิญญูชน, 2546.
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี. (10 ตุลาคม 2555). การจ่ายเงินค่าทดแทน. สืบค้นจาก http://kmcenter. rid.go.th/kclaw/news_ins_doc/peoject.
Fyson V. Buckinghamshire Country Council 1958 1W.L.R. 634.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, คำอธิบายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ: รัฐธรรมนูญเยอรมัน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2535.