การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานแท็บเล็ตเพื่อการศึกษากับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินงานแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม และรายด้านมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ได้ดังนี้ การนำ การวางแผน การจัดองค์การ และการควบคุม 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับชาติ (NT) มีคะแนนเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ได้ดังนี้ ความสามารถด้านภาษา ความสามารถด้านเหตุผล และความสามารถด้านคำนวณ และ 3) การดำเนินงานแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา โดยรวมมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับชาติ (NT) รวมความสามารถ 3 ด้าน อยู่ในระดับต่ำ โดย มีความสัมพันธ์กับความสามารถด้านภาษา และความสามารถด้านเหตุผล ในระดับต่ำ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับ ความสามารถด้านคำนวณ
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
คู่มืออบรมปฏิบัติการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน,
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2555.
จันทรานี สงวนนาม, ทฤษฎีแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา, บุ๊คพอยท์, 2553.
“รายงานประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน”สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2557.
กุนท์ลดา ศรีเทพ, “การพัฒนารูปแบบการใช้แท็บเล็ตพีซีในการเรียนการสอนตามแนวคิด การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2558.
รายงานผลสัมฤทธิ์นักเรียน ปีการศึกษา 2557, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1, 2558.
เสนาะ ติเยาว์, หลักการบริหาร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.
วิโรจน์ สารรัตนะ, ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา, ทิพยวิสุทธิ์, 2555.
ชาคริต ดิลกโศภณ, “การบริหารจัดการการใช้แท็บเล็ตของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2,” วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ, 2557.
นงค์นุช บุตรดาวงษ์, “สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการตามโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสกลนคร, 2557.
สุชาดา ลิ่มสวัสดิ์, “การศึกษานโยบายการใช้แท็บเล็ตเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษ จังหวัดภาคใต้ตอนบน,” วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, ปีที่ 4, ฉบับที่ 1, หน้า 213 – 238, 2560.