แนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์: กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Main Article Content

จิรายุ ทรัพย์สิน
วันชัย สุขตาม
ขนิษฐา ใจสุระ
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาด้านการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาด้านการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาภาคปกติทุกชั้นปีสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 240 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาด้านการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาด้านการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อาชีพของครอบครัว รายได้เฉลี่ยของครอบครัว/เดือน และสถานภาพผู้ปกครองไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนด้านอายุและชั้นปีที่ศึกษามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ได้แก่ หน่วยงานควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเกี่ยวกับประชาธิปไตย ให้ข้อมูลแก่นักศึกษาที่ถูกต้อง ดำเนินการพัฒนาด้านการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง รวมตลอดทั้งมีพัฒนาด้านความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, (1 มิถุนายน 2560),ประชาธิปไตย, สืบค้นจากhttps://th.wikipedia. org.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยสำหรับครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6, กรุงเทพฯ, สหายบล็อกและการพิมพ์, 2552.
สุภาพร ชัยฤกษ์, “การเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย: ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการเสริมเสริมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล,” วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2552.
พรศิริ นาคลำภา, “บทบาทผู้บริหารและผู้นำชุมชนในการส่งเสริมประชาธิปไตยทางตรง: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา,” ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557.
Yamane, Taro, “Statistics: An Introductory Analysis”, Third edition, New York, Harper and Row Publication, 1973.
Cronbach, L. J., “Essentials of Psychological Test, Fifth edition, New York, Harper Collins, 1970
ปทุมพร รอดกระต่าย, “การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3,” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2557.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยสำหรับครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6, กรุงเทพฯ, สหายบล็อกและการพิมพ์, 2552.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยสำหรับครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6, กรุงเทพฯ, สหายบล็อกและการพิมพ์, 2552.
สวิง ตันอุด และคณะ, การศึกษารูปแบบสภาพลเมืองที่เหมาะสม, กรุงเทพฯ, ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์, 2556.