การบูรณาการหลักธรรม เพื่อการพัฒนาชุมชนในสังคมไทยให้เข้มแข็ง

Main Article Content

ประจักษ์ ขุราศี

บทคัดย่อ

กระบวนการพัฒนาสังคมให้เกิดความเข้มแข็ง ย่อมต้องนึกภาพถึงวิถีชีวิตของสังคมไทยในอดีต เพราะว่าช่วงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 สังคมไทยเริ่มเป็นสังคมแห่งความหวัง เพราะว่าประชาชนเริ่มเปิดรับแนวคิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ มีกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศหลายด้าน ทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมที่ “มองไปข้างหน้าด้วยความหวัง มองไปข้างหลังด้วยความอาลัย”


               ปัจจุบันมาถึงยุคนี้การปกครองบ้านเมืองพยายามที่จะทำให้สังคมไทยเป็นสังคมทันสมัย มีเครื่องมือสื่อสารทันสมัย อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ ที่ทำให้คนในสังคมไทยปัจจุบันมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว และมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม “สังคมคนก้มหน้า” สนทนากันได้ตลอดเวลาทำให้มองเห็นถึงกิริยาท่าทางคู่สนทนาเป็นอย่างดีซึ่งเข้าใจกันดีว่าโลกหมุนเร็วมากจำเป็นต้องพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบัน มองไปข้างหลังด้วยความอาลัย และมองด้วยตานอก ตาใน สัมผัสด้วยใจแล้วจะเห็นได้ว่า ก่อนที่จะมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ตามเขา จะต้องเก่งและมีความสามารถพัฒนาเท่าทันเขาได้ แต่ถ้าคิดเอง ยังล้าหลัง พัฒนาการเปลี่ยนแปลงของสังคมมาถึงยุคของสังคมอุตสาหกรรม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงมาจากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรม เกิดขึ้นมากมาย บางแห่งเป็นนิคมอุตสาหกรรม จึงทำให้บางแห่ง มีการพัฒนา  การเปลี่ยนแปลงเครื่องมือ เครื่องไม้ การเข้าทำงาน ตามกะ ตามเวลา เสื้อผ้าที่เคยใส่เวลาอยู่กับชุมชน เปลี่ยนแปลงเป็นแบบฟอร์ม เพราะว่าการผลิตของอุตสาหกรรม จากการเกษตรเป็น อุตสาหกรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

อุทัย ดุลยเกษม และอรศรี งามวิทยาพงศ์, ระบบการศึกษากับชุมชน : กรอบความคิดและข้อเสนอเพื่อการวิจัย, (กรุงเทพมหานคร : แปลน พริ้นติ้ง, 2540), หน้า 8 – 10.

กีรติ กมลประเทืองกร “การจัดการชุมชน, ชุมชมเข็มแข็ง, วิถีพุทธ,” วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2559 หน้า97.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, วาทกรรมการพัฒนา: อานาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์วิภาษา, 2543, หน้า 227.

พุทธทาส ภิกขุ, แนวสังเขปของโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร: เพาเวอร์พริ้นท์, 2540, หน้า 50.

บรรพต วีรสัยและคณะ, พระสงฆ์กับสังคมไทยโดยพิจารณาในเชิงสังคมเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง: กรณีศึกษาวัดในกรุงเทพมหานครและฉะเชิงเทรา, รายงานการวิจัย, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2532.

พระธรรมปิกฎ (ป.อ. ปยุตฺโต), ผู้นำ, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มติชน, 2544, หน้า 20.

ชาติชาย ณ เชียงใหม่, การเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับพฤติกรรมทางการเมืองของชาวนา ภาคเหนือ, ใน อนัญญา ภุชงคกุล (บรรณาธิการ), รัฐกับหมู่บ้านในไทยศึกษา, กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2533, หน้า 28.