The การใช้หลักธรรมาภิบาลด้านหลักนิติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย

Main Article Content

รัฐสิทธิ์ คุรุสุวรรณ
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี

บทคัดย่อ

               การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสอดคล้องของตัวชี้วัดธรรมาภิบาลด้านหลักนิติธรรมกับการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย ด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ได้แก่อนุญาโตตุลาการ จำนวน  5 คน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร) จำนวน 5 คน  ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสถาบันอนุญาโตตุลาการ  จำนวน 5 คน คู่พิพาทหรือผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการอนุญาโตตุลากร จำนวน  5  คน ผลการสัมภาษณ์และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน ผลการศึกษาพบว่า 1) การใช้กฎหมายในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ได้ใช้กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของสถาบันอนุญาโตตุลาการ หรืออื่นๆ หลักเกณฑ์ หรือ เกณฑ์การใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิของคู่กรณี เป็นสิทธิเกี่ยวกับธุรกิจ การค้า  ส่วนการให้ความคุ้มครองสิทธิ เป็นสิทธิการบังคับในเนื้อหาสัญญา โดยใช้หลักกฎหมายที่มีอยู่แล้ว  2) หลักเกณฑ์ หรือ เกณฑ์การใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของคู่กรณีนั้น ตามหลักเกณฑ์หรือเกณฑ์การใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของคู่กรณีนั้น เป็นการเน้นแต่สิทธิของคู่กรณี ไม่ใช่เสรีภาพ  3) การตัดสินข้อพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายทางเนื้อหาเป็นการตัดสินตามกฎหมายโดยเนื้อหากฎหมาย ต้องอิงกฎหมายเป็นหลักในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง  4) การปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการในการไม่ทำให้เกิดความเสียเปรียบหรือไม่เป็นการละเมิดในการคุ้มครองผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นคู่พิพาทสามารถทำได้  5) การเป็นอนุญาโตตุลาการต้องมีความเป็นอิสระและเป็นกลางในการพิจารณาคดีเช่นเดียวกับผู้พิพากษา 6) การปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการในการพิจารณาชี้ขาด คู่พิพาทสามารถปฏิบัติตามคำชี้ขาดหรือผูกพันด้วยกฎหมายได้ในบางกรณี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2546.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) (24 เมษายน 2555), ความหมายของหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (GG Framework).

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2559). สืบค้นจาก https:// www.matichon.co.th/columnist/page/14

วิภาส ทองสุทธิ์, การบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อินทภาษ, 2551. น.202-205)

เมตต์ เมตต์การุณจิต, การบริหารจัดการที่ดี. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บุ๊คพอยท์, 2554.

เสาวนีย์ อัศวโรจน์, คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยวิธีการระงับข้อพิพาททางธุรกิจโดยการอนุญาโตตุลาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 39 ก ลงวันที่ 29 เมษายน 2545.

ไชยวัฒน์ บุนนาค, อนุญาโตตุลาการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทรัพย์สุรีย์ จำกัด, 2554.