ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามโครงการพระราชดำริ ด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มโรงเรียน ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามโครงการพระราชดำริ ด้านสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามโครงการพระราชดำริ ด้านสิ่งแวดล้อมของ กลุ่มโรงเรียน ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 กลุ่มโรงเรียน ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 2 ห้อง จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจงทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือวันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ วันละ 30 นาที รวม 24 ครั้ง ในช่วงเวลา 09.00 - 09.30 น.
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามโครงการพระราชดำริ ด้านสิ่งแวดล้อม 2) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองโดยอาศัยแบบการทดลองกลุ่มเดียว มีการวิจัยแบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง One–Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามโครงการพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของกลุ่มโรงเรียน ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เมื่อพิจารณาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ พบว่า สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
ทิศนา แขมมณี, รูปแบบการเรียนการสอน: ทาง เลือกที่หลากหลาย, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย, 2545
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542, 2544.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์, การวัดและประเมินผลแนวใหม่:เด็กปฐมวัย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2545.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโน
โลยี, แนวทางจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย, 2551.
หรรษา นิลวิเชียร, ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติ, โอเดียนสโตร์ กรุงเทพ, 2535.
กุลยา ตันติผลาชีวะ, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย, กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์, 2547.
ประสาท เนืองเฉลิม, “ทักษะกระบวนการวิทยา ศาสตร์ปฐมวัยศึกษา,” วารสารการศึกษาปฐมวัย, หน้า 24-25, 2545.
วลัย สาโดด, “ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากกิจกรรมอบขนม,” ปริญญานิพนธ์ ก ศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย), บัณฑิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2549.
รัตนา นิสภกุล, “การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยน้ำตาลไอซิ่ง,” ปริญญานิพนธ์ ก ศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย), บัณฑิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2550.
อุไรวรรณ คุ้มวงษ์, “จิตสาธารณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อมตามโครงการพระราชดำริ,” ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย), บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551.
กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ 2546, หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2), 2545.
วราภรณ์ รักวิจัย, แนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในเอกสารประกอบการอบรม ครูโรงเรียนเอก ชนระดับก่อนประถมศึกษา, กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการการศึกษาเอกชน, 2542.
วันทนีย์ เหมาะผดุงกุล, “การพัฒนาสติปัญญาของเด็กก่อนประถมศึกษาที่ครูมีการใช้คำถามในระหว่างการทำกิจกรรมและหลักการทำกิจกรรมในวงกลม,” ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐม วัย), บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2535.