การพัฒนาความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ กิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ โรงเรียนบ้านเขว้าศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนาความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ลออร์ฟ โรงเรียนบ้านเขว้าศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีความมุ่งหมายในการวิจัยเพื่อพัฒนาความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff,1895-1982) โรงเรียนบ้านเขว้าศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ได้ให้ความหมายความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย ไว้ดังนี้ 1)ด้านความรับผิดชอบ 2) ด้านการรู้จักเวลา 3) ด้านความอดทน อดกลั้น 4) ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง 5) ด้านความเป็นผู้นำ ผู้ตาม
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชายหญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน มีเด็กปฐมวัยทั้งหมดจำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเจาะจง เพื่อพัฒนาความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ โดยทำการสังเกตพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง จากนั้นจัดกิจกรรมประสบการณ์ดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และทำการสังเกตพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยในช่วงเวลาการทดลองทุก 2 สัปดาห์ ได้แก่ สัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้ง คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff,1895-1982) 2) แบบสังเกตพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Research) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองโดยอาศัยแบบการทดลองกลุ่มเดียว มีการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design กับแบบ One Group Time–Series เข้าด้วยกันสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) มัธยฐาน (Median)
ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( 1.28-45) หลังการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( 1.73-1.84) แสดงว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรีตามแนวคาร์ล ออร์ฟ พฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มสูงขึ้น
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2. ธวัชชัย นาควงษ์, การสอนดนตรีสำหรับเด็กตามแนวของคาร์ล ออร์ฟ(Carl Orff,1895-1982), กรุงเทพฯ:ภาควิชาศิลปนิเทศคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2549.
3. บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์, การทดสอบแบบอิงเกณฑ์:แนวคิดและวิธีการ, กรุงเทพฯ:ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2526
4. ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, เทคนิคการวิจัยทางการ ศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์สุวีริยา สาส์น, 2549.
5. นิภา ศรีไพโรจน์, หลักการวิจัยเบื้องต้น, กรุงเทพฯ:ภาควิชาพื้นฐานการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหา วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2527.
6. ผลทาน ศรีณรงค์, “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 ในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,” วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2528.
7. เยาวพา เดชะคุปต์, การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย,ภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2540.
8. พิทักษ์ คชวงษ์. “ดนตรี:อัญมณีเลอค่าพัฒนาเด็กปฐมวัย,” การศึกษาปฐมวัย, 2541.
9. พัชรา พุ่มพชาติ, “อิทธิพลของเสียงดนตรีที่มีต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัย,” ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2533.
10. รัชดาภรณ์ อินทะนิน, “การศึกษาแนวโน้มและอัตราการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม,” ปริญญานิพนธ์ กศ.ม., บัณฑิตวิทยาลัยมหา วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2544.
11. ทองคำ บุญประเสริฐดี, “การทดลองใช้วิธีกระบวน การกลุ่มสัมพันธ์พัฒนาความสามารถทางสติปัญญาและความสามารถทางสังคมของเด็กระดับก่อนประถมศึกษา,” ปริญญานิพนธ์ กศ.ม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2535.
12. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต), “สรุปคำบันทึกการตอบแบบสำรวจเกี่ยวกับวินัยของคนในชาติ” ณ สถานพำนักสงฆ์สายใจธรรม อำเภอพนมสารคาม ฉะเชิงเทรา, 2537.
13. พนม ลิ้มอารีย์, กลุ่มสัมพันธ์, มหาสารคาม:ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 2522.
14. ประเทิน มหาขันธ์, คู่มืออบรมนักเรียน, สาธิตพิบูลบำเพ็ญ, 2515.
15. รักตวรรณ ศิริถาพร, “ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจทัศนะของผู้อื่นของเด็กปฐมวัยที่ได้เล่นกิจกรรมการเล่นเพื่อคลายการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง,” ปริญญานิพนธ์ กศ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2534.
16. นฤมล เนียม, การพัฒนากิจกรรมการเสริมสร้างวินัยในตนเองด้านความรับผิดชอบของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้วิธีสะท้อนความคิดแบบผสมผสาน,” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 2549.
17. กิ่งแก้ว อัตถากร, วรรณกรรมจากบ้านโน กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภา, 2513.