รูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวารอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ธาตรี มหันตรัตน์
จันทร์แรม เรือนแป้น

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวารอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก ฯ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 5 หน่วยงาน รวม 10 คน 2) ศึกษาหาแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกแบบมีส่วนร่วม ฯ โดยจัดการสนทนากลุ่มตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 5 หน่วยงาน รวม 10 คน และ 3) สำรวจความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกแบบมีส่วนร่วม ฯ โดยใช้แบบสอบถามกับของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนทั้งสิ้น 135 คน ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวารที่สำคัญมี 7 เรื่อง ได้แก่ 1) การบุกรุกพื้นที่ 2) การขาดองค์กรหลักเพื่อเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการ 3) การขาดบุคลากรในการบริหารจัดการ 4) การใช้ที่ดินในพื้นที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5) การเมืองท้องถิ่นภายในพื้นที่ 6) งบประมาณในการบริหารจัดการ 7) การบังคับใช้กฎหมาย ส่วนแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกแบบมีส่วนร่วม ฯ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายและแผนแม่บทการอนุรักษ์วัฒนธรรมและธรรมชาติให้ชัดเจนทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัดเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง 2) การกำหนดให้มีกฎหมายพิเศษเป็นการเฉพาะเพื่อใช้บังคับในพื้นที่ 3) การตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่ และ 4) การให้อำนาจจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในการบริหารจัดการพื้นที่ภายใต้กฎหมายพิเศษที่บัญญัติขึ้น และการวิจัยครั้งนี้ ได้นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกแบบมีส่วนร่วมฯ มีองค์ประกอบ 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผนฯ 2) ด้านการจัดองค์กรการบริหารจัดการพื้นที่ 3) ด้านการจัดบุคลากรบริหารจัดการในพื้นที่ 4) ด้านการอำนวยการและการสั่งการ      5) ด้านการประสานงาน 6) ด้านการรายงานผลการปฏิบัติการ 7) ด้านการบริหารงบประมาณในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, แผนแม่บท การอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2561-2570, กระทรวงวัฒนธรรม, 2561.

2. พรพรรณ โปร่งจิตร, “นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร การถอดถอนจากการเป็นมรดกโลก,” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ., ปีที่ 21, ฉบับเดือนมกราคม-ธันวาคม, หน้า 154, 2561.

3. ชาติชาย มหาคีตะ และธาตรี มหันรัตน์, “มรดกโลก อำนาจ ความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลงนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา,” วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1, หน้า 197-206, 2558

4. สุนีย์ ทองจันทร์ และคณะ, “ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในการบริหารจัดการ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ศึกษากรณีเกาะเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2556.

5. อรทัย เจริญเรืองเดช, “ปัญหาการจัดการพื้นที่มรดโลกในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา,”วิทยานิพนธ์ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 2557.