การฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเมืองเขมราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษามูลเหตุที่ทำให้มีการฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ เมืองเขมราษฎร์ธานี และเพื่อศึกษาการดำเนินการรื้อฟื้นและฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเมืองเขมราฐธานี และเพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการรื้อฟื้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมดังกล่าว การดำเนินการศึกษาจากเอกสารงานวิจัย หนังสือ ตำรา รวมทั้งภาพถ่ายในอดีตที่บันทึกเหตุการณ์สำคัญในการรื้อฟื้นและฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเมืองเขมราษฎร์ธานี การสำรวจภาคสนาม ในเขตเทศบาลตำบลเขมราฐ สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องหลักที่มีส่วนสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรม การรื้อฟื้นและฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเมืองเขมราษฎร์ธานี ได้แก่ กลุ่มผู้เฒ่าผู้ใหญ่ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการรื้อฟื้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม
ผลการวิจัยพบว่า
- มูลเหตุที่ทำให้มีการฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเมืองเขมราษฎร์ธานี เนื่องมาจากสำนึกของชาวอำเภอเขมราษฎร์ธานีที่มีความรู้สึกว่าเมืองเขมราฐเป็นบ้านเมืองที่เก่าแก่ เมืองหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่น้อยไปกว่าเมืองอุบล ยโสธร หรืออำนาจเจริญ ซึ่งในสมัยโบราณเมืองเขมราฐมีฐานะสำคัญเทียบเท่าบ้านเมืองที่กล่าวมาข้างต้น ชาวเขมราฐ จึงพยายามจะนำเสนอให้เห็นอดีตที่สำคัญของเมืองเขมราฐให้คนทั่วไปรับรู้ความเก่าแก่ของเมือง
- การดำเนินการรื้อฟื้นและฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเมืองเขมราษฎร์ธานี ได้มีการดำเนินการสำคัญ 4 ประการ คือ การรื้อฟื้นอัตลักษณ์เมืองเขมราษฎร์ธานี ผ่านการสร้างหนังสือประวัติศาสตร์เมือง การรื้อฟื้นอัตลักษณ์ผ่านการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมของชาวอำเภอเขมราษฎร์ การรื้อฟื้นอัตลักษณ์ผ่านการซ่อมแซมและปรับปรุงวัดวาอาราม และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองเขมราฐ และ การรื้อวัฒนธรรมผ่านการทำเสื้อที่ระลึกเมืองเขมราฐ
- ผลที่เกิดขึ้นจากการรื้อฟื้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเมืองเขมราษฎร์ธานี ทำให้ชาวอำเภอเขมราฐ มีความภาคภูมิใจในความเป็นชาวเขมราฐที่อยู่ในบ้านเมืองที่เก่าแก่ รวมไปถึงผลกระทบสำคัญไปยังการรับรู้ของคนทั่วไปทำให้ออกมาเยี่ยมชมเมืองเขมราฐซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเขมราฐ
คำสำคัญ: การฟื้นฟู, อัตลักษณ์, วัฒนธรรม
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
หม่อมอมรวงค์วิจิตร (ม.ว. ปฐม คเนจร) “พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน,” ประชุมพงศาวดารเล่ม 3 (ประชุมพงศาวดารภาค 3 และภาค 4 ตอนต้น). กรุงเทพฯ: 2506.
เลหล้า ตรีเอกานุกูล,การฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในสังคมพหุวัฒนธรรมของกลุ่มสตรีชาติพันธุ์ไต-ไท ในอำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน และอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย, กรุงเทพฯ: 2560.
นฤมล ลภะวงศ,“กระบวนการจัดการเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านหนองมณฑา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่,” วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ,ปีที่ 10 ฉบับที่ 2, หน้า44-55,2557.
พระครูสิริธรรมาภิรัต,“แนวทางการฟื้นฟูและพัฒนากระบวนการประเพณีการสวดด้าน วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร,” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,ปีที่ 6 ฉบับที่2, หน้า 620-641,2562.