แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาของครูผู้สอนเพื่อพัฒนาทักษะ การคิดขั้นสูงของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

จุลลดา จุลเสวก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้นวัตกรรมการศึกษาของครูผู้สอน และเพื่อหาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาของครูผู้สอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดจันทบุรีและตราด จำนวน 317 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำเสนอแนวทาง การพัฒนาการใช้สื่อการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ด้วย การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรมการศึกษาของครูผู้สอนพบว่า มีการใช้นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์อยู่ในระดับมาก โดยมีการค้นคว้าข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตหรือใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน เช่น YouTube, blog, Facebook, Twitter, Line มากที่สุด และมีการใช้นวัตกรรมประเภทรูปแบบ เทคนิค วิธีการ อยู่ในระดับมาก โดยมีการใช้เทคนิคการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบมากที่สุด 2. แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาของครูผู้สอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 1) ควรมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์และสิ่งประดิษฐ์ และประเภทรูปแบบ เทคนิค วิธีการ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอน 2) ควรเลือกใช้นวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน 3) การสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อ บำรุงรักษา และพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] วัชรา เล่าเรียนดี, รูปแบบและการจัดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาทักษะการคิด, พิมพ์ครั้งที่ 10, นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
[2] ทิศนา แขมมณี และคณะ, วิทยาการดานการคิด, กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ, 2544.
[3] Cviko, A., McKenney, S., & Voogt, J., “Teacher roles in designing technology-rich learning activities for early literacy: A cross-case analysis”, Computers & Education, Vol.72, pp. 68-79, 2014.
[4] Cuban, L., Kirkpatrick, H., & Peck, C., “High access and low use of technologies in high school classrooms: Explaining an apparent paradox”, American educational research journal, Vol. 38, No. 4, pp. 813-83, 2001.
[5] สราวุธ สุขสุผิว และคณะ, “ประสิทธิผลของการเรียนด้วยสื่อการสอนอัจฉริยะแบบส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในนักศึกษาสาขาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี”, Suranaree Journal of Science and Technology, ปีที่ 10, ฉบับที่ 2, หน้า 1-17, 2559.
[6] ศยามน อินสะอาด, การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง, กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2561.