การตรวจสอบความตรงของโครงสร้างสมรรถนะมาตรฐานตามโครงร่าง หลักสูตร 4 ปี สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาพลศึกษา กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

ปิยะพงศ์ กู้พงศ์พันธ์
ณัฐพงษ์ จรทะผา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมรรถนะมาตรฐานสำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาพลศึกษา กลุ่มมหาวิทยาลัย              ราชภัฏ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความตรงของโครงสร้างสมรรถนะมาตรฐานตามโครงร่างหลักสูตร 4 ปี และ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อสมรรถนะมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนประจำสาขาวิชาพลศึกษา จำนวน 133 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิสองขั้นตอน และนักศึกษาครู สาขาวิชาพลศึกษา จำนวน 359 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะมาตรฐาน และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะมาตรฐานวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงสร้างสมรรถนะมาตรฐานสำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาพลศึกษามีคุณภาพด้านความตรง พิจารณาจาก = 1.12, GFI = 0.97, RMSEA = 0.03, NFI = 0.99, NNFI = 0.99, CFI = 0.99 และ AGFI = 0.90 น้ำหนักองค์ประกอบมีค่าอยู่ระหว่าง 0.67-0.94 ความแปรปรวนที่สกัดได้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.68-0.74 และความเที่ยงเชิงโครงสร้างมีค่าอยู่ระหว่าง 0.83-0.94 และ2) นักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษาเห็นว่าสมรรถนะหลักทั้ง 7 ด้านเหมาะสมกับวิชาชีพในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.05-4.33 ส่วนสมรรถนะตามหน้าที่ทั้ง 5 ด้านก็มีความเหมาะสมกับวิชาชีพในระดับมากเช่นกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.20-4.35

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, พริกหวานกราฟฟิค, 2560.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (23 มิถุนายน 2562). แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. สืบค้นจากhttp://www.mua.go.th/users/tqfhed/news/FilesNews/FilesNews3/News328072552.pdf.

กฤษดา ตามประดิษฐ์, “สมรรถนะมาตรฐานสาหรับบัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขาการจัดการการกีฬา”,ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน, การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย, กาฬสินธุ์, ประสานการพิมพ์, 2556. (หนังสือ)

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, Babin, B.J, & Anderson, R.E. Multivariate data analysis, 7thed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall, 2010.

สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทาง การศึกษา, โครงการพัฒนาสมรรถนะของครูตาม ระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ, 2551.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พรทิพย์ แข็งขัน, สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพ, สำนักงานแลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ, 2551.

อัสรี สะอีดี, “การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ,” ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, พื้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, กลุ่มงานผลิตเอกสารสำนักประชาสัมพันธ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2556.